กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บางปลาหมอ สุขภาพจิตดี ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 ตำบลตุยง

1. นางสาวกอลีเยาะ อาแวดือมอง
2. นางมารีนา สะมาแอ
3. นางฮามีดะห์ สาและ
4. นางซูมัยดะห์ ยุนุ
5. นายมูฮัมหมัดรอซี แวยุนุ

หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการประเมินความเครียดในทุกๆปีพบว่าประชาชนมีภาวะซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิตในพื้นที่เพิ่มขึ้นสาเหตุเกิดจากปัญหาผู้สูงอายุอยู่บ้านตามลำพังไม่มีคนดูแล เป็นอันดับ 1 ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง อันดับ 2 รองลงมาปัญหารายได้ของครอบครัว และปัญหาโรคประจำตัว ตามลำดับ
ชมรมอาสาสมครสาธารสุข บ้านบางปลาหมอ หมู่ที่ 8 เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำบางปลาหมอ สุขภาพจิตดี ปี 67 เพื่อจะได้ดูแลและเฝ้าระวังให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาให้แก่ประชาชนในกลุ่มเฉพาะ หรือกลุ่มวัยต่างๆ สร้างกระแสให้เกิดความไว้วางใจในการดูแลอาใจใส่กลุ่มเสี่ยงและทำกิจกรรมเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคทางจิต และฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าให้แก่ประชาชนในพื้นที่

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 80

250.00 200.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพจิตที่ดี

ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพจิตที่ดี คิดเป็นร้อยละ 90

200.00 180.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน งบประมาณ    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 35 บาท   เป็นเงิน  1,400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สร้างการมีส่วนร่วม
  2. เครือข่ายมีความเข้าใจในการดำเนินงาน
  3. การจัดทำโครงการเป็นลำดับขั้นตอน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินความเครียด และภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
ประเมินความเครียด และภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประเมินความเครียด และภาวะซึมเศร้า(ST5 , 2 Q, 9Q) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ งบประมาณ    - ค่าเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรอง (ป้ายประชาสัมพันธ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน แบบประเมิน ค่าถ่ายเอกสารฯล และอื่นๆ)   เป็นเงิน  3,220 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินหรือคัดกรองความเครียด และภาวะซึมเศร้า
  2. มีข้อมูลที่ได้จากการประเมินเพื่อนำไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3220.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาองค์ความรู้เพื่อจัดการกับความเครียด

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาองค์ความรู้เพื่อจัดการกับความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพจิต(กลุ่มเสี่่ยงหรือผู้ดูแล) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ งบประมาณ    - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน X 60 บาท   เป็นเงิน 3,000.-บาท    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ   เป็นเงิน  3,500.-บาท    - ค่าสัมนาคุณวิทยากร 6 ชม.ๆละ 600 บาท   เป็นเงิน  3,600.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามตรวจคัดกรองซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจคัดกรองซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การติดตามประเมินกลุ่มเสี่ยง เพื่อตรวจคัดกรองซ้ำ และวางแผนระบบการส่งต่อในลำดับต่อไป งบประมาณ    - ไม่ใช้งบประเมิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินซ้ำ หากพบผิดปกติจะได้รับการแก้ไขปัญหาในลำดับขั้นตอนต่อไป เช่น การส่งต่อเพื่อการรักษา การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจากเครือสุขภาพหรือหน่วยงานสาธารณสุข
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมิลผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมิลผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมประเมินผลการดำเนินงาน จัดทำรูปเล่มรายงานกองทุนฯ งบประมาณ    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 35 บาท   เป็นเงิน  1,050.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โครงการได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่อง
  2. มีรายงานสรุปเป็นรูปเล่มส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,770.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตุยง
2. ประชุมทีมค ณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
3. ประเมินความเครียด และภาวะซึมเศร้า (ST5 , 2 Q, 9Q)
4. อบรมส่งเสริมสุขภาพจิต เรื่อง
- สถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน
- อาการแสดงภาวะซึมเศร้า
- สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า
- การช่วยเหลือและการป้องกันผู้ที่ที่มีภาวะซึมเศร้า
- วิธีการป้องกันรักษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มอายุต่างๆ
- การใช้หลักการศาสนาเพิ่มพูนอีหม่านส่งเสริมสุขภาพจิต
5. สรุปและประเมินผลโครงการ จัดทำรายงานรูปเล่มรายงานคณะกรรมการกองทุนฯ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เครือข่าย อสม.และประชาชนในชุมชนบ้านบางปลาหมอ สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้กับตัวเองและสามารถดูแลสุขภาพของครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี
2. สร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
3. สร้างชุมชนเข้มแข็ง
4. ประชาชนในพื้นที่หรือกลุ่มเสี่ยงต่างๆได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิต


>