กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบ้านน้ำตก

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบ้านน้ำตก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบ้านน้ำตก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบ้านน้ำตก

ม.1บ้านไอกาบู ม.5บ้านน้ำตก ม.10บ้านรักธรรม ม.12 บ้านน้อมเกล้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

33.63
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน

 

14.36
3 ร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

 

1.07
4 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

 

31.46

ปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งเกิดจากปัญหาหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ค่านิยมและการขาดความรู้ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมองข้ามในเรื่องสุขภาพและโรคที่ตามมาเนื่องจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันล้วนมีการแข่งขันมากขึ้น ทำให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพและโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้
โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่ออันเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถป้องกันได้ และจากการคัดกรองปี ๒๕66 พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 114 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.63 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.36 และกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 219 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.46กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 75 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.07 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมก็อาจส่งผลให้ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนผิดปกติและจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องรับการรักษากินยาต่อเนื่อง ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตกได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และมีความตระหนัก ต่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เฝ้าระวังไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าวและโรคแทรกซ้อนที่ตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

80.00 100.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต ปกติ

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุข 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 การสร้างแกนนำอสม.ในการติดตามการดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 การสร้างแกนนำอสม.ในการติดตามการดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 การสร้างแกนนำอสม.ในการติดตามการดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย 1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน30คน x 25บาท x 2ครั้ง เป็นเงิน 1,500 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 50บาท เป็นเงิน 1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดได้ถูกต้อง และสามารถวิเคราะห์และคัดแยกกลุ่มเป็าหมายได้ จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่2 การดำเนินการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนกลุ่มเสี่ยง 2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 3 ครั้งเป็นเงิน 7,500 บาท 2.3 ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท 2.4 ซื้อวัสดุสำนักงาน/จัดทำสมุดบันทึกไดอารี่สุขภาพจำนวน 2,000 บาท 2.5 ซื้อเครื่องวัความดันแบบอัตโนมัติ จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น16,720 บาท ( หนึ่งหมื่นหกพันเจ็ดร้อยยี่สิบบาทถ้วน) หมายเหตุค่าใช้จ่ายในโครงการสามารถปรับเฉลี่ยได้ทุกรายการตามที่จ่ายจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องการปรับพฤติกรรมได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง
ไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่


>