กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 1 -13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

32.24
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

17.67

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรทั่วโลก ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคความ ดันโลหิตสูงถึง 7.5 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 ความชุก ของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน ในประเทศไทย ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคน ในปี 2552 เป็น 13 ล้านคนในปี 2571และเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้ จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเกือบ 4 ล้านคนในปี 2556 เป็นเกือบ 6 ล้านคนในปี2561จำนวนผู้เสียชีวิต จากโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับจำนวนผู้ป่วย จาก 5,186 คนในปี 2556 เป็น 8,525 คน ในปี 2560 ปี 2557 มีการประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พบว่าประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 80,000 ล้านบาทต่อปีต่อจำนวนผู้ป่วยประมาณการ 10 ล้านคน จะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงยังคงเป็นปัญหา สุขภาพที่สำคัญ สำหรับจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงจากข้อมูล HDC มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปีงบประมาณ 2559 - 2561 จังหวัดพัทลุง มีจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ดังนี้ 52,290 คน, 55,955 คน และ6,116 คน และจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ปีขึ้นไป ในตำบลปันแต มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ในปี 2561-2566 จำนวน 1,101.93, 1,023.39,1,202.67,973.55,810.37,997.87 อัตราต่อแสนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน
ซึ่งจากการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ในแต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปีโดยในปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมาได้ทำการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป พบอัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ จำนวน 263 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 261 คน คิดเป็นร้อยละ 98.86 จำนวนที่ถูกวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 61คน จำนวน 997.87 อัตราต่อแสนประชากรจากสถิติการเกิดโรคดังกล่าว การแก้ไขปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยการคัดกรองโรคเป็นการเฝ้าระวังที่สำคัญ ทำให้ประชาชนได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเองนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพตามข้อมูลของแต่ละบุคคลเมื่อประชาชนเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงติดตามวัดความดัน และในกลุ่มป่วยติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและตรวจสุขภาพก็จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนในตำบลปันแตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วย

คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

90.00
2 เพื่อติดตามวัดความดันในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงสูงและให้ความรู้

ติดตามวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงสูงและให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม (ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloud สสจ.พัทลุง)

60.00
3 เพื่อติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและตรวจสุขภาพ

ติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและตรวจสุขภาพร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตามและตรวจสุขภาพ (ประเมินผลจากการรับยาและพบแพทย์ตามนัด)

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,912
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 758
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 235
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ
  2. จัดทำและเสนอโครงการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชน กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป 3 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดย วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดส่วนสูง งบประมาณ จัดซื้อเครื่องวัดความดัน จำนวน 13 เครื่อง ๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 39,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง    ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กลุ่มสงสัยเป็นโรค ได้รับการวัดความดันโลหิตซ้ำในสถานบริการสาธารณสุขภายใน 7 วัน
    ≥ 180 mmHg และ/หรือ ค่าความดันโลหิตตัวล่างเฉลี่ย (DBP) ≥ 110 mmHg ได้รับการวัดความดันโลหิตซ้ำในสถานบริการสาธารณสุขภายใน 7 วัน หลังจากการคัดกรอง
  2. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการวัดความดันโลหิต HOME BPทุกราย เป็นเวลา 7 วัน
  3. กลุ่มเสี่ยงที่มีค่าระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 mmHgได้รับการพบแพทย์ทุกราย เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต 1. ร้อยละ 60 ของกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
  • ผลลัพธ์ 1. ติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ขาดยา และไม่พบแพทย์ตามนัด 2. เจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.ติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยเรื้อรังที่ขาดยา และไม่พบแพทย์ตามนัดทุกราย 3. ส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับยาต่อเนื่อง           1. เครื่องตรวจวัดความเค็ม จำนวน 1 เครื่อง  x 2,500 บาท  เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม
  • ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกราย
                  2. ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
2. ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
3. ลดอัตราการตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง


>