กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 1-13ตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

70.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

46.00

ปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ของโลกเพิ่มมากขึ้นทำให้หลายประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว (Ageing Society) จากข้อมูลสำรวจใน พ.ศ. 2556 พบว่าประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดตามลำดับ ดังนี้อันดับ 1 ประเทศญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุร้อยละ 32.0, อันดับ 2 ประเทศอิตาลีร้อยละ 26.9 , อันดับ 3 ประเทศเยอรมัน ร้อยละ 26.8, และประเทศไทยมีผู้สูงอายุร้อยละ 14.3 มากเป็นอันดับที่ 63 ของโลก และในภูมิภาคอาเซียนประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ (ข้อมูลกรมอนามัย) ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี
จากข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบันของกรมอนามัย พบว่า พ.ศ. 2537 มีจำนวนผู้สูงอายุ 4.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 6.8 พ.ศ. 2545 จำนวน 5.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9.4 พ.ศ. 2550 จำนวน 7.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.7 พ.ศ. 2554 จำนวน 8.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 12.2 ล้านคน และในปี 2557 จำนวน 10.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.9 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2568 นั้นหมายถึงในอีก 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) และยังพบว่าอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประชากรไทยในอนาคตเพิ่มสูงขึ้นดังนี้ พ.ศ. 2550 ชาย 68.4 ปี หญิง 75.20 ปี พ.ศ. 2553 ชาย 71.0 ปี หญิง 71.70 ปี พ.ศ. 2563 ชาย 73.0 ปี หญิง 79.40 ปี พ.ศ. 2573 ชาย 75.10 ปี หญิง 80.90 ปี และในปี พ.ศ. 2583 ชาย 77.20 ปี และหญิง 82.30 ปี อายุคาดเฉลี่ยฯ หญิงสูงกว่าชาย โดยพบว่าประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวขึ้น ผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เพิ่มสูงขึ้นดังนี้ พ.ศ. 2553 จำนวน 1.07 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 12.10 , พ.ศ. 2563 จำนวน 1.69 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.40 ,พ.ศ. 2573 จำนวน 2.42 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.80 และ พ.ศ. 2583 จำนวน 3.92 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.10 ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพึ่งพิงสูง
ปัญหาสุขภาพที่พบมีดังนี้ กลุ่มโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง สุขภาพช่องปาก และสุขภาพตา ผู้สูงอายุวัยต้นเป็นโรคเรื้อรังร้อยละ 69.30 ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไปเป็นโรคเรื้อรังร้อยละ 83.0 และเจ็บป่วยจากโรค 6 โรคพร้อมกันร้อยละ 70.80การเจ็บป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเพศหญิงเจ็บป่วยมากกว่าเพศชาย และกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะเสื่อมของร่างกาย (Geriatric Syndrome) เช่น สมองเสื่อม ซึมเศร้า หกล้ม กลั้นปัสสาวะ โภชนาการ และการนอน พบว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยมีกลุ่มอาการดังกล่าวมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นและเพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย
จากการประเมินดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันบาร์เธลเอดีแอล ปี 2566 ในพื้นที่ตำบลปันแต พบว่ามีผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมจำนวน 1,270 คน คิดเป็นร้อยละ 98.75ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจำนวน 22คน คิดเป็นร้อยละ 1.73 และกลุ่มติดเตียงจำนวน13 คน คิดเป็นร้อยละ 1.02 ในการเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุและเพื่อดำเนินการตามนโยบายการส่งเสริมสุขภาพทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้นเพื่อสร้างและพัฒนาแผนส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ10 เรื่อง

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

90.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,350
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.ในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.ในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แจ้ง อสม. เข้ารับการอบรมการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 ด้าน
  2. จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. จำนวน 1 วัน 3.ฝึกปฏิบัติการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 ด้าน   1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 120 คน  x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน   3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต อสม. เข้ารับการอบรม ความรู้ฯครบตามเป้าหมาย 115คน
  • ผลลัพธ์ อสม .มีความรู้และทักษะการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่ และ อสม.  สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในเขตรับผิดขอบ
  2. กำหนดวัน เวลา สถานที่  ลงพื้นที่ในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ  10 เรื่อง 3.ลงพื้นที่คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ตาม วัน เวลา ดังกล่าว
  3. บันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม JHCIS และใน smart อสม.
  4. ผู้สูงอายุที่มีผลการคัดกรองเสี่ยง ได้รับการส่งต่อทุกราย
    1. ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มสำหรับคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ  จำนวน 1,350 ชุด x 3 แผ่น x 0.50 บาท  เป็นเงิน 2,025  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต     ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ 10 เรื่อง ร้อยละ  90
  • ผลลัพธ์    กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง  และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2025.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,025.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติ
2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


>