กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตพิชิตใจ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และคำนิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความคับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ชาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลงมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากคนในชุมชนได้รับการดูแลใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนมีภาวะซึมเศร้าและคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังแยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ข้อมูลการตายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียน ใน 1 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ฆ่าตัวตายจำนวน 2 คน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียน จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดโครงการ สุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ ขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์สุขของประชาชนในการเห็นความสำคัญถึงปัญหาที่เกิดแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาและขจัดความเครียดได้

กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาและขจัดความเครียดได้

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

ชุมชนมีการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำแนวทางการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตไปใช้กับตนเองได้

มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต /ตอบคำถาม/ช่องทางการบริการสายด่วนสุขภาพจิต/เทคนิคการผ่อนคลายโดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน1,800 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ โปสเตอร์และแผ่นพับให้ความรู้ เป็นเงิน2,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน X 25 บาท เป็นเงิน1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และ สามารถดำรงชีวิตอยู่กับชุมชน และครอบครัวได้อย่างมีความสุข
2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการจัดการกับอารมณ์ได้
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำแนวทางการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตไปใช้กับตนเองได้


>