กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตเด็กกำพร้าและด้อยโอกาส ตำบลคลองมานิง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิง

ม.1 ต.คลองมานิง อ.เมือง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักของสังคมไทยเป็นรากฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิตสมาชิกในครอบครัวต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีความรักความเอื้ออาทรให้กันและกัน อีกทั้งต้องหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวสถาบันครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันหลักและเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมต่างๆ เช่นปัญหาสุขภาพทางกาย ปัญหาสุขภาพทางจิต ปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางร่างกายทางจิตใจและทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะเด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาสและ เด็กกำพร้า
ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทยเกิดการชะลอตัว ค่าครองชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค มีราคาสูง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสและเด็กกำพร้า ทำให้เด็กด้อยโอกาสและเด็กกำพร้าขาดโอกาสในการออกมาทำกิจกรรมในตำบล บางรายอาจเกิดความน้อยใจและถ้าไม่ได้รับการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายภาคหน้า กอปรกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่๖) พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๖๗ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้ (๖) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ
ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กกำพร้าในตำบลให้ดีขึ้นและครอบคลุมทุกพื้นที่ของตำบลคลองมานิง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิง จึงได้จัดทำส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตเด็กกำพร้าและด้อยโอกาส ตำบลคลองมานิง เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตแก่เด็กด้อยโอกาสและเด็กกำพร้า ส่งผลให้เด็กด้อยโอกาสและเด็กกำพร้ามีความรู้ ในการดูแลสุขภาพจิตตนเอง มีกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต ทั้งของตนเองและคนรอบข้าง
2. เพื่อให้เด็กได้ มีกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมต่อไป
3. เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างประชาชน ชุมชน และหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 42
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมบรรยาย การดูแลสุขภาพเด็กกำพร้าและด้อยโอกาส เพื่อป้องกันโรคระบาดในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
อบรมบรรยาย การดูแลสุขภาพเด็กกำพร้าและด้อยโอกาส เพื่อป้องกันโรคระบาดในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 42 คน x 1 มื้อ x 70 บาท เป็นเงิน 2,940 บาท
2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คน x 2 มื้อ x 35 บาทเป็นเงิน 2,940 บาท

3 ค่าวิทยากรในการฝึกอบรมจำนวน 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
4 ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ (ไวนิล) ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน750 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,230บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและรู้เท่าทันโรคใหม่ๆ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันตนเองและคนในครอบครัว

2.เด็กได้มีความรู้ด้านสุขภาพ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติต่อตนเองและคนในครอบครัวได้

3.มีการบูรณาการทางความคิดระหว่างหน่วยงานต่างๆ และระหว่างหน่วยงานกับประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้าและผู้ดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10230.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,230.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กกำพร้าและด้อยโอกาส ได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต ทั้งของตนเองและคนรอบข้าง
2. เด็กกำพร้าและด้อยโอกาสมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมต่อไป
3. มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ และประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้า


>