กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบางปูร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ เทศบาลตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางปู ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู

ในเขตเทศบาลตำบลบางปู / ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานแห่งที่ 2 เทศบาลตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน ปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงคือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสอง ทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์การควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แต่ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์และไข้มาลาเรียรวมกัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปีโดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยอีกทั้งการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกติ และได้มีการประมาณการทุกครั้งที่มีผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตครบ 8 ราย จะมีผู้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมเสียชีวิตไปด้วย 1 ราย ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมจะมีโอกาสเกิดโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่าโดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็กหากมารดาตั้งครรภ์สูบบุหรี่หรือได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูง เช่นทารกน้ำหนักตัวน้อยคลอดก่อนกำหนดเด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตาย ปอดอักเสบติดเชื้อ โรคภูมิแพ้โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2560 พบว่า จำนวนประชากรมีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 55.9 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ 10.7 ล้านคน (ร้อยละ 19.1 ) แยกเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ประจำ 9.4 ล้านคน (ร้อยละ 16.8 ) สูบนานๆครั้ง 1.3 ล้านคน (ร้อยละ 2.3 ) ในกลุ่มวัยทำงาน (25 – 44 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ 21.9 ) กลุ่มอายุ 20-24 ปี (ร้อยละ 20.7 ) กลุ่มอายุ 45-59 ปี (ร้อยละ 19.1 ) กลุ่มผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) (ร้อยละ 14.4 ) กลุ่มเยาวชน(15 – 19 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำสุด (ร้อยละ 9.7) แนวโน้มการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปลดลงไม่มาก แต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 20.7 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 19.9 ในปี 2558 และร้อยละ 19.1 ในปี 2560 ผู้ชายที่สูบบุหรี่ลดลงมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายลดลง ร้อยละ 40.5 ในปี 2557 ร้อยละ 39.3 ในปี 2558 และร้อยละ 37.7 ในปี 2560สำหรับผู้หญิงลดลงจากร้อยละ 2.2 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 1.8 ในปี 2558 และร้อยละ 1.7 ในปี 2560 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก มีผลต่อการเข้าถึงการมีสุขภาวะที่ดีและจำนวนปีการสูญเสียสุขภาวะ อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกของผั้สูบบุหรี่เป็นประจำเพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อยจาก 17.8 ปี ในปี 2557 เป็น 18 ปี ในปี 2560ชี้ให้เห็นว่า อายุของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มีอายุน้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น และในประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่คิดเป็น 12 % ของการตายทั้งหมดรัฐบาลสูญเสียทางเศรษฐกิจกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่ถึง 43.6 พันล้านบาท คิดเป็น 0.5% ของ GDP ถ้ายังไม่มีมาตรการใดๆในการป้องกันและเฝ้าระวังนักสูบบุหรี่หน้าใหม่อีกทั้งบุหรี่เป็นเพียงสินค้าชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย แต่เป็นอันตรายต่อทุกคนทั้งที่เป็นผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่โดยยึดหลักการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ การแนะนำให้มาบำบัด จัดระบบเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ โดยการสร้างแรงจูงใจ การตระหนักในปัญหา ร่วมกันให้คำปรึกษา ติดตาม ดูแล และการให้ความรู้แก่ประชาชนให้
สามารถนำไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการป้องกันที่ดีโดยการสร้างการตระหนัก จูงใจประชาชนเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพดี ของตนเองและบุคคลรอบด้าน
ด้วยเหตุดังกล่าวกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมร่วมกับอาสามสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังคนรุ่นใหม่เพื่อชุมชนปลอดบุหรี่เทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ2567นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้าง/ขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบลบางปู

เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชาชนในชุมชน

ลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้สูบรายใหม่และลดจำนวนผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสอง

0.00
3 3. เพื่อลดจำนวนผู้สูบรายใหม่

 

0.00
4 4. เพื่อลดจำนวนผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสองในบ้านของตนเอง

 

0.00
5 5. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 84
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/01/2024

กำหนดเสร็จ 19/01/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม โครงการบางปูร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
อบรม โครงการบางปูร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจาก  กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางปู รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน      จำนวน  84 คน * 50 บาท *  2  มื้อ เป็นเงิน  8,40๐.-  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม      จำนวน  84 คน * ๒5 บาท *  4  มื้อ     เป็นเงิน    8,4๐๐.-  บาท
    - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด ๑ x 3 เมตร  จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน        45๐.-  บาท     - ค่าวิทยากร 11 ชั่วโมงๆ ละ 5๐๐ บาท                เป็นเงิน  5,50๐.-  บาท     - ค่าวัสดุ                                  เป็นเงิน  4,25๐.-  บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น     27,00๐.- บาท  ( เงินสองหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มกราคม 2567 ถึง 19 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน
  2. ลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้สูบรายใหม่และลดจำนวนผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน
2. ลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้สูบรายใหม่และลดจำนวนผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสอง


>