กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน บากง ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกา ม.2 บ้านบากง

1. นายสุไฮมี สะอิ
2. นางสาวซาลีฮะห์ สะอิ
3. นางสาวตอฮีเราะ สะแต
4. นายยาการียา หะยีตาเยะ
5. นายสการียา มามะ

หมู่ที่ 2 บ้านบากง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันผู้ปกครองมีเวลาไม่มากในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ด้วยต้องทำงานเพื่อหาเงินมาดูแลครอบครัว วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง จากชุมชนชนบทเป็นชุมชนเมือง ปัจจัยยังชีพเพื่อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต เป็นเป้าหมายหลักของหลายๆครอบครัว ระบบการสื่อสารที่ไร้ขอบเขต พฤติกรรมการบริโภคหรือค่านิยมในการบริโภคที่ผิดๆ ลูกๆหรือเยาวชนก็ติดโทรศัพท์ เล่นเกมส์ออนไลน์ ขาดระเบียบวินัย เป็นข้อมูลที่ได้จากการถามจากหลายๆครอบครัวในพื้นที่ สรุปปัญหาหลักๆในเด็กวัยเรียนดังนี้
1. ติดเกมส์ ติดโทรศัพท์
2. ขาดวินัย มีความดื้อ ชอบอยู่ตามลำพัง
3. ขาดทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
4. มีปัญหาฟันผุก่อนวัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการบริโภคจำพวกแป้ง น้ำหวาน อาหารสำเร็จรูป และขาดการดูแล
ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เชื่อมโยงกันหมดเป็นวัฏจักร เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมโดยไม่ต้องแยกแยะว่าเป็นหน้าที่ของใคร ทางชมรมตาดีกา ม.2 บ้านบากง เห็นควรว่าควรมีการอบรมให้ความรู้ ปลูกฝังทัศนคติที่ดีแก่เด็กวัยเรียน การจัดกิจกรรมให้เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้เด็กๆได้มารวมกลุ่มน่าเป็นสิ่งที่ดี จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตุยง เพื่อเป็นการใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพ(7-12 ปี)

ร้อยละ 90 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ได้มีความรู้ด้านสุขภาพ ทัศนคติที่ดี

60.00 54.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน มีการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย และร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 90 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพที่แข็งแรง

60.00 54.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆตามแผนงาน กิจกรรม     งบประมาณ     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 35 บาท   เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. การทำงานที่เป็นเครือข่าย สร้างความสามัคคีในชุมชน
  2. พัฒนาศักยภาพชมรมเกิดความเข้มแข็ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 เยาวชนรอบรู้นำมาสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
เยาวชนรอบรู้นำมาสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมส่งเสริมองค์ความรู้แก่เด็กวัยเรียนในการดูแลสุขภาพเพื่อพัฒนาการสมวัยในประเด็น ภัยร้ายต่างๆที่คุกคามสุขภาพในเด็กวัยเรียน สุขภาพอันพึงประสงค์ในวันเรียนและการปฏิบัติตัว เยาวชนรุ่นใหม่ต้องก้าวทันโลก งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน 60 คน x 60 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน x 35 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าสัมนาคุณวิทยากร500 บาท x 4 ชม.เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน9,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนมีความรู้ที่ดีขึ้น
  2. เยาวชนมีทัศนคติที่ดีขึ้น
  3. เยาวชนปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพที่ดี ได้ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 3 เคลื่อน ขยับ เพื่อสุขภาพ ช่วยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เคลื่อน ขยับ เพื่อสุขภาพ ช่วยชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหว การขยับกาย เช่น
- การปลูกผักสวนครัว การส่งเสริมการออกกำลังกาย เช่น การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การเล่นกีฬาฟุตบอล การเล่นกีฬาพื้นบ้าน
- จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บขยะ 2 ข้างทาง การปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆในหมู่บ้าน การพัฒนาพื้นที่ สถานที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน งบประมาณ
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน กิจกรรม เช่น ลูกฟุตบอล วอลเล่ย์บอล แฮนด์บอล ตะกร้อ พันธ์ไม้ วัสดุทางการเกษตร และอื่นๆ เป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. เยาวชนร่วมกิจกรรมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
  3. เยาวชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
  4. เยาวชนได้รวมกลุ่มและทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน
  5. สิ่งแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลโครงการ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่กิจกรรมแรกจนถึงเสร็จสิ้นโครงการ งบประมาณ      - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้ประเมินโครงการและหาวิธีการแก้ไขในทุกกิจกรรมที่ดำเนินงาน
  2. มีรายงานสรุปกิจกรรมเป็นรูปเล่มส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,500.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
3. จัดอบรมส่งเสริมองค์ความรู้แก่เด็กวัยเรียนในการดูแลสุขภาพเพื่อพัฒนาการสมวัย
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหว การขยับกาย เช่น
- การปลูกผักสวนครัว
- การส่งเสริมการออกกำลังกาย เช่น การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การเล่นกีฬาฟุตบอล การเล่นกีฬาพื้นบ้าน
- จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรค การเก็บขยะ 2 ข้างทาง การปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆในหมู่บ้าน การร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่นๆในวันสำคัญของหมู่บ้าน
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กวัยเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีขึ้นในการดูแลสุขภาพ
2. เด็กวัยเรียน มีการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย และร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
3. ประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพของบุตรหลานเพิ่มมากขึ้น
4. เยาวชนในพื้นที่มีการขยับกาย หรือออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
5. เด็กและเยาวชนมีความรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
6. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ที่ดี
7. สังคมน่าอยู่


>