กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สร้างสุข 5 มิติ เป็นผู้สูงวัย แต่ไม่ไร้ค่า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

ชมรมผู้สูงอายุเครือข่ายตำบลปันแต

1.นายยกช่วยอินทร์ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลปันแต
2.นายพันธ์เลิศยอดกลิ่น ประธานโครงการสร้างสุข5มิติเป็นผู้สูงวัย แต่ไม่ไร้ค่า
3.นายธีรวุฒิทองรักขาว รองประธานโครงการสร้างสุข5มิติเป็นผู้สูงวัยแต่ไม่ไร้ค่า
4.นางนิตยาทองเลี่ยมนาค กรรมการโครงการสร้างสุข5มิติเป็นผู้สูงวัยแต่ไม่ไร้ค่า
5.นางอาภรณ์วิชัยเลขานุการโครงการสร้างสุข5มิติเป็นผู้สูงวัยแต่ไม่ไร้ค่า

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล

 

5.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

 

18.13
3 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

 

0.34

การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด70,080,000คนในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุที่อายุ60 ปีขึ้นไป 12,116,199 คนคิดเป็นร้อยละ 18.3%ซึ่งการสูงวัยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งทางด้านร่างกายที่เสื่อมถอยลงทุกระบบการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบทบาทในครอบครัวรวมถึงฐานะทางเศรษฐกิจที่ลดลงส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมากปัญหาที่พบบ่อยทางด้านจิตใจในผู้สูงอายุ5อันดับแรกคือความวิตกกังวลซึมเศร้านอนไม่หลับภาวะสมองเสื่อมปัญหาเรื่องเพศซึ่งทำให้ความสุขของผ็สูงอายุต่ำกว่าคนทั่วไป
ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลปันแตจึงได้จัดทำโครงการ “ โครงการสร้างสุข5มิติเป็นผู้สูงวัยแต่ไม่ไร้ค่า “เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะในการชะลอความเสื่อมของร่างกายและสองมีทักษะในการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุขสร้างคุณค่าในตนเองมีทักษะในการควบคุมอารมณ์จัดการอารมณ์และสามารถผ่อนคลายให้เกิดควารมสุขต่อตนเองส่งผลให้เป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถเปลี่ยนจาก“ภาระ ”ให้เป็น “พลัง”ของสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีทักษะในการชะลอความเสื่อมของร่างกายและสมอง

ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลตนเองทั้งด้าน  ร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ

90.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะในการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิด อารมณ์เป็นสุข สร้างคุณค่าในตนเอง

มีกิจกรรมสร้างสุข  5  มิติครบทั้ง  5  สุข (สุขสบาย  สุขสง่า  สุขสนุก  สุขสงบ  สุขสว่าง)

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะควบคุมอารมณ์ จัดการอารมณ์ ของตนเอง

ผู้สูงอายุ  มีการดูแลสุขภาพจิตตนเองดีขึ้นคัดกรองแล้วไมพบโรคซึมเศร้า (จากแบบประเมินความสุข)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 42
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม การให้บริการเพื่อให้เกิดสุข 5 มิติ (สุขสบาย สุขสง่า สุขสนุก สุขสงบ สุขสว่าง) จำนวน 16 สัปดาห์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม การให้บริการเพื่อให้เกิดสุข 5 มิติ (สุขสบาย สุขสง่า สุขสนุก สุขสงบ สุขสว่าง) จำนวน 16 สัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รับสมัครผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงจากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ 2.จัดหาวิทยากรในการอบรม 3.จัดทำตารางการให้บริการเพื่อให้เกิดสุข5มิติ(สุขสบายสุขสง่าสุขสนุกสุขสงบสุขสว่าง)จำนวน16สัปดาห์
  2. เชิญกลุ่มเป้าหมายการให้บริการเพื่อให้เกิดสุข5มิติ(สุขสบายสุขสง่าสุขสนุกสุขสงบสุขสว่าง)จำนวน16สัปดาห์ งบประมาณ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้จัด/วิทยากร45คน X 1 มื้อ X 25บาท X 16ครั้งเป็นเงิน18,000บาท -ค่าวัสดุ/อุปกรณ์8,000บาท -ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด1*3เมตรจำนวน1ป้ายเป็นเงิน450บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร21ชั่วโมง ๆ ละ500 บาทเป็นเงิน10,500บาท (จำนวน 7 ครั้ง)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
                  ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสุข  5  มิติ  ครบ  16  สัปดาห์              ผลลัพธ์                    - มีกิจกรรมสร้างสุข  ครบทั้ง  5 สุขมิติ  (สุขสบาย  สุขสง่า  สุขสนุก  สุขสงบ  สุขสว่าง)                     -ผู้สูงอายุ  มีการดูแลสุขภาพจิตตนเองดีขึ้นคัดกรองแล้วไมพบโรคซึมเศร้า (จากแบบประเมินความสุข)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระดับบุคคลผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตดีขึ้นตามอัตภาพการฆ่าตัวตายลดลงผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงการบริการ
2.ระดับชุมชนเกิดศูนย์การเรียนรู้
3. เป็นเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุที่มั่นคงโดยชุมชนมีส่วนร่วม


>