กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาปีพุทธศักราช 2542 หมวด 4แนวการจัดการศึกษาระบุไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาการตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรมมชาติและเต็มตามศักยภาพฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
ตามหลักสูตรสถานศึกษาในมาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดีตัวบ่งชี้ที่ 1.3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นตรงตามแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมดยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านผู้เรียนมีพํมนาการเหมาะสมกับวัยกลยุทธ์ที่ 1.2 การพัฒนาด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของเด็ก
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลและเป็นอนาคตของชาติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็กโดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด - 6 ปีซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคมและสติปัญญาการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างมากเด็กจะมีสุขภาพที่แข็งแรงเติบโตสมวัยมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสจะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่และดีที่สุดในทุกด้านพร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปแต่เด็กวัยนี้ต้องอยู่ในการดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดเพราะเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมดอำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุงเห็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น เด็กติดในรถเด็กจมน้ำ ฯลฯ เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุและสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กให้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมดได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัยขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองบุคลากรภายในศูนย์เด็กฯมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็กให้ปลอดภัยห่างไกลจากภัยรอบตัวได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีทักษะรู้จักวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยสามารถแก้ไขปัญหาเมื่อต้องพบกับเหตุการณ์จริงจากเหตุการณ์ที่เสี่ยงให้ได้รับอันตราย

เด็กนักเรียนสามารถปฎิบัติตามที่วิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้และเด็กนักเรียนมีความปลอดภัย  ไม่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงแก่ชีวิตต่อเด็ก  จำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กปฐมลดลง

10.00 5.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง บุคลากร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมดมีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพให้กับเด็ก ปฏิบัติการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่คนที่ได้รับอุบัติเหตุและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้

ผู้ปกครอง  บุคลากร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด มีพัมนาศักยภาพความรู้ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่วิทยากรบรรยายให้ความรู้ปฏิบัติการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่คนที่ได้รับอุบัติเหตุตามวิธีที่วิทยากรแนะนำได้และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นเข้าใจได้  มีความตื่นตัวในการสร้างวัฒนธรรมการป้องกันความปลอดภัยของเด็กและผู้ปกครอง

5.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง วิธีการป้องกันส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย แก่เด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรใน ศพด.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง วิธีการป้องกันส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย แก่เด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรใน ศพด.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท   เป็นเงิน  1,800  บาท                                                     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  180  คนๆ ละ  25  บาท  เป็นเงิน   4,500   บาท                                             -  ค่าป้ายโครงการ  ขนาด 1.2 * 2.4 เมตร   เป็นเงิน   576   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6876.00

กิจกรรมที่ 2 การสาธิตฝึกปฎิบัติซักซ้อมป้องกันภัย

ชื่อกิจกรรม
การสาธิตฝึกปฎิบัติซักซ้อมป้องกันภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิทยากรสาธิตการปฎิบัติซักซ้อมป้องกันภัยเมื่อเกิดเหตุคนตกน้ำ  เกิดเหตุเด็กติดในรถ  เกิดเหตุจากแก๊สหุงต้ม  และการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับอุบัติเหตุ  ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฏิบัติในเรื่องการช่วยตนเองและการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,876.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีทักษะในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุได้
2. ผู้ปกครอง บุคลากร ศพด. บ้านตะโหมด มีศักยภาพความรู้ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพให้กับเด็ก
3. ผู้ปกครอง เด็กมีความตื่นตัวในการสร้างวัฒนธรรมการป้องกันความปลอดภัยของเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง
4. จำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กปฐมวัยลดลง


>