กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่สามารถป้องกันและควบคุมได้ด้วยการเรียนรู้เรื่องโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างแพร่หลายแต่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้ปัญหาที่พบบ่อยคือผู้ป่วยขาดการรับรู้เรื่องประโยชน์และความรุนแรงของโรคส่งผลให้การควบคุมโรคขาดประสิทธิภาพซึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมโรคคือพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมไม่ควบคุมอาหารขาดดารออกกำลังกายส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นรวมถึงการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอการจัดระบบการดูแลรักษาและการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้และเข้าใจเรื่องโรคการจัดการพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถควลคุมโรคได้ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมดมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน213คนสามารถควบคุมโรคได้ดีตามเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ37.56และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง513คนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ดีตามเกณฑ์ร้อยละ65.89ซึ่งการควบคุมโรคเบาหวานยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนอกจากนี้ยังพบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้แก่พฤติกรรมการบริโภคอาหารการออกกำลังกายการจัดการความเครียดและการรับประทานยาซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องใช้เวลา อาศัยการเรียนรู้การฝึกทักษะและความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและศึกษางานวิจัยพบว่า รูปแบบการให้บริการโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางรวมถึงกระบวนการให้ความรู้ที่สนับสุนการดูแลตนเองช่วยให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ดีลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในระยะยาว
โครงการนี้จึงมีความสำคัญในการเตรียมผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งเบาหวานความดันโลหิตสูงผู้ดูแลและแกนนำ อสม. ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมจากทีมสหวิชาชีพซึ่งประกอบด้วยแพทย์พยาบาล เภสัชกรและนักโภชนาการโดยเน้นให้ผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธีสามารถพึ่งพาตนเองได้ลดการใช้ยาลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจพร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงอย่างเข้มข้น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 175
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่สหวิชาชีพ 10
แกนนำ อสม. 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  175  คนๆ ละ  25  บาท  เป็นเงิน   4,375  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4375.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามประเมินความเสี่ยงโดยทีมสหวิชาชีพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินความเสี่ยงโดยทีมสหวิชาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  10  คนๆ ละ  2 มื้อ ๆละ  25  บาท   เป็นเงิน   500   บาท                                                             -  ค่าอาหารกลางวัน   จำนวน  10  คนๆ ละ   70   บาท    เป็นเงิน    700    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องทักษะการจัดการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องทักษะการจัดการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   จำนวน  70  คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ  25  บาท   เป็นเงิน   3,500  บาท                                                                                          -  ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  70  คนๆ ละ  70  บาท    เป็นเงิน    4,900   บาท
-  ค่าวิทยากร  จำนวน  6  ชั่วโมงๆ ละ  600  บาท   เป็นเงิน   3,600   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าร้อยละ 40
2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีมากกว่าร้อยละ60
3.ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดพบความเสี่ยงสูงมากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นหรือได้รับยาเพื่อลดความเสี่ยงร้อยละ 50
4.ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาไตเท้าหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


>