กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค่ายเยาวชนตาดีกากับการดูแลสุขภาพ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

ชมรมตาดีกาตำบลเมาะมาวี

ชมรมตาดีกาตำบลเมาะมาวี

องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี, รีสอร์ทสะกอมคาบาน่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ต้องได้รับการพัฒนาเต็มตามองค์รวมครบทุกด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจริยธรรมคุณธรรม ทั้งนี้การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องอาศัยการบูรณาการ ผสมผสานกับวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน โดยสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาเด็กพบว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ในประเด็นของการดูแลสุขภาวะทางด้านสุขภาพ จากสาเหตุการป่วยนอกตามกลุ่มโรค 10 อันดับแรก ในกลุ่มอายุน้อยกว่าเท่ากับ 15 ปี เขตสุขภาพที่ 12 จังหวัดปัตตานี อำเภอยะรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี ปี 2565 คือ 167 การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่นๆ180ฟันผุ 198 โรคอักเสบติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 181 ความผิดปกติอื่นๆ ของฟันและโครงสร้าง199โรคอื่นๆ ของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง057 โรคติดเชื้อและปรสิตอื่นๆ 042 โรคติดเชื้อรา 142 โรคของหูและปุ่มกดหูอื่นๆ185 โรคอื่นๆ ของหลอดอาหาร กระเพาะและดูโอเดนัม053 โรคพยาธิตัวตืด140หูชั้นกลางอักเสบและความผิดปกติของหูชั้นกลางและปุ่มกกอื่นๆ041 โรคจากไวรัสอื่นๆ165 คอลอักเสบเฉียบพลันและต่อมทอนซิมอักเสบเฉียบพลัน 170 หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและหลอดลมเล็กอักเสบเฉียบพลัน131 เยื่อบุตาอักเสบและความผิดปกติของเยื่อบุตาอื่นๆทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ จากการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาดังกล่าวพบว่าครอบครัวและชุมชนยังขาดศักยภาพในการดูแลสมาชิกของตนเอง และยังมีขีดความสามารถจำกัดในการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนในครอบครัวและชุมชนได้ สถานการณ์เยาวชนในพื้นที่ตำบลเมาะมาวี ในปัจจุบัน สภาพวิถีชีวิตของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี และการเมืองการปกครอง ความรีบเร่งในการทำงาน และการประกอบอาชีพส่งผลต่อชีวิตประจำวันของประชาชนโดยรวม ตัวอย่างเช่น การไม่ให้ความสำคัญกับเวลาที่มีคุณค่ากับลูก การไม่รู้จักและตระหนักถึงภัยจากสื่อโฆษณา มีแหล่งจูงใจในทางที่ไม่สร้างสรรค์ ขาดความรู้ ขาดทักษะในการชี้แนะ เชื่อมโยงโน้มน้าวให้ลูกเกิดความรู้สึกนึกคิดที่ดีในการเข้ามาช่วยทำงานร่วมกับครอบครัว บ้านและโรงเรียนยังไม่สามารถทำงานร่วมกันในการพัฒนาเด็ก-เยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำอย่างไรที่จะให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักคุณค่าของเวลา มีทักษะในการดำรงชีวิต มีทักษะในการทำงาน มีจิตอาสาในการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อชุมชน วิธีการ ให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ใช้เวลาว่างในการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบสุขภาวะของตนเองและของบุคคลในชุมชน เช่น กิจกรรมค่ายส่งเสริมสุขภาพ การทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม นอกจากนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าการบริการสุขภาพในเชิงรับเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถป้องกันปัญหาของวัยรุ่นและเยาวชนได้ เนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนมักไม่ใช้บริการของรัฐ โดยเฉพาะไม่กล้าเข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับบริการต่างๆ ดังนั้น การให้ความรู้เรื่องสุขภาพเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะครอบครัวเป็นช่องทางในการเข้าถึงเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันปัญหา และเข้าถึงกลุ่มเด็กเยาวชนทั่วไปเพื่อการส่งเสริม โครงการนี้ค่ายเยาวชนนี้เป็นการส่งเสริมสุขภาพเด็กเยาวชน คุณครูผู้สอนและตลอดจนบุคคลในครอบครัวเด็ก การที่สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพดี แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในครอบครัว เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ จึงสามารถที่จะแนะนำให้ทุกคนในครอบครัว ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันได้อย่างสม่ำเสมอ เสมือนเป็นแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
ดังนั้นทางชมรมตาดีกาตำบลเมาะมาวี ร่วมกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเมาะมาวี จึงได้จัดโครงการค่ายเยาวชนตาดีกากับการดูแลสุขภาพ ประจำปี๒๕๖๗ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการป้องโรคต่างๆ

 

70.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องยาเสพติด, การจัดการขยะป้องกันโรค

 

70.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกายและใจตามหลักศาสนา

 

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/01/2024

กำหนดเสร็จ 29/02/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คนๆละ 4 มื้อๆละ 35 บาทเป็นเงิน  28,000 บาท
  • ค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 200 คนๆละ 4 มื้อๆละ 80 บาทเป็นเงิน  64,000 บาท  (วันที่หนึ่ง อาหารเที่ยงและอาหารเย็น, วันที่สอง อาหารเช้าและอาหารเที่ยง)
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 8,400 บาทดังนี้   วันที่หนึ่ง อัตราชั่วโมงละ 400 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน เป็นเงิน 2,400 บาท
      วันที่สอง  (ภาคเช้า) อัตราชั่วโมงละ 400 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,200 บาท
                   (ภาคบ่าย) แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มๆละ 50 คน (ทั้งหมด 200 คน) วิทยากร 4 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
    -  ค่าที่พัก ดังนี้
      ห้องธรรมดาจำนวน 8 ห้องๆละ 600 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท
      ห้องธรรมดาจำนวน 4 ห้องๆละ 800 บาทเป็นเงิน 3,200 บาท
      ห้องธรรมดาจำนวน 10 ห้องๆละ 1,000 บาทเป็นเงิน 10,000 บาท
      ห้องธรรมดา จำนวน 5 ห้องๆละ 1,200 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท
      ห้องธรรมดาจำนวน 2 ห้องๆละ 1,500 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าห้องประชุม เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าเช่ารถจำนวน 4 คันๆละ 2 วันๆละ 7,000 บาท เป็นเงิน 56,000 บาท
  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์การอบรม จำนวน 186 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 9,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
198600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 6 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่ใช้งบประมาณ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 198,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคต่างๆ
2. ผุ้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องยาเสพติด, การจัดการขยะป้องกันโรค
3. ผุ้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกายและใจตามหลักศาสนา


>