กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในพื้นที่ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการพบแอนติเจน/ไมโครฟิลาเรีย

 

4.73

จากการดำเนินงานเฝ้าระวังการกลับมาระบาดซ้ำของโรคเท้าช้าง โดยการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ เข้าดำเนินการเจาะเลือดค้นหา ผู้ติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างด้วยการใช้ชุดตรวจแบบเร็วสำเร็จรูป และทำฟิล์มเลือดหนา ในเขตรับผิดชอบของตนเองในปี 2566 สามารถดำเนินการโดยมีความครอบคลุมประชากรจำนวน 2,662 รายตรวจพบผู้ที่มีแอนติบอดีชนิด antifilarial IgG4
จำนวน 126 รายคิดเป็นร้อยละ 4.73 และตรวจพบเชื้อในกระแสเลือด 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.45 ทำให้ประชาชนได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างได้อย่างทันเวลา ก่อนนำไปสู่ความพิการในอนาคต
สำหรับสถานการณ์โรคเท้าช้างในตำบลปูโยะมีผู้ป่วยที่ตรวจพบไมโครฟิลาเรียจำนวน 12 รายเป็นผู้ป่วยในหมู่ที่ 2 จำนวน 4 ราย หมู่ที่ 3 จำนวน 3 ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 2 ราย หมู่ที่ 5 จำนวน 1 ราย และหมู่ที่ 6 จำนวน 2 ราย การดำเนินการป้องกันการแพร่เชื้อมีมาตรการที่สำคัญ คือ 1) การรักษากลุ่มประชากรเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค 2) การรักษาเฉพาะรายโดยการติดตามจ่ายและเจาะโลหิตซ้ำในผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือด ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปีและการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ปรากฏอาการอวัยวะบวมโต 3) การให้สุขศึกษา – ประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเท้าช้างอย่างถูกต้องเพื่อทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษาและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะได้ดำเนินการจ่ายยารักษากลุ่มตามโครงการกำจัดโรคเท้าช้างของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2545-2560 และยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังหลังหยุดการจ่ายยารักษากลุ่มโรคเท้าช้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน

คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน

80.00 1.00
2 เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคเท้าช้างในพื้นที่

เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคเท้าช้างในพื้นที่

1.00 1.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มประชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป 3,000

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนิน งานแก่คณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนิน งานแก่คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแก่คณะทำงาน
รุ่นที่ 1
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 42 คน x 25บาทx 1 มื้อ
เป็นเงิน1,050 บาท

รุ่นที่ 2
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 38 คน x 25บาทx 1 มื้อ
เป็นเงิน 950 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรค เท้าช้างและจ่ายยาป้องกันโรคเท้า ช้างเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรค เท้าช้างและจ่ายยาป้องกันโรคเท้า ช้างเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมเจาะเลือดตรวจเชื้อโรคเท้าช้างและจ่ายยาป้องกันโรคเท้าช้างเชิงรุก
    1.1 ติดตามเจาะเลือดฯและจ่ายยาเชิงรุก
    ในหมู่ที่ 1
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
             จำนวน 19 คน x 25  บาท x 10 ครั้ง
             เป็นเงิน  4,750  บาท 1.2 ติดตามเจาะเลือดฯและจ่ายยาเชิงรุก
      ในหมู่ที่ 2      
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
         จำนวน 19 คน x 25  บาท x 10 ครั้ง
         เป็นเงิน 4,750 บาท 1.3 ติดตามเจาะเลือดฯและจ่ายยาเชิงรุก
      ในหมู่ที่ 3
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
         จำนวน 18  คน x 25  บาท x  10 ครั้ง
         เป็นเงิน    4,500 บาท

1.4 ติดตามเจาะเลือดฯ และจ่ายยาเชิงรุก
ในหมู่ที่ 4 
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 10  คน x 25  บาท x  5 ครั้ง
เป็นเงิน 1,250 บาท
1.5 ติดตามเจาะเลือดฯและจ่ายยาเชิงรุก
ในหมู่ที่ 5 
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 5  คน x 25  บาท x  3 ครั้ง 
เป็นเงิน 375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนการควบคุมป้องกันโรคเท้าช้าง 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างได้รับการติดตามทุกราย 3. อัตราการแพร่โรคพยาธิ โรคเท้าช้าง ไม่เกินร้อยละ 1

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการพบไมโครฟิลาเรียรายใหม่ลดลง
2. ผู้ที่พบไมโครฟิลาเรีย ได้รับการติดตามรักษาและเจาะโลหิตซ้ำทุกราย


>