กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

จัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health station ม.2บ้านวังปริง ต.ชะรัด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1.นายพะยุทธ สังข์วิสุทธ
2.นางศยามล ขวัญนิมิตร
3.นางพรทิพย์ รามศรี
4.นางนิษาชล แก้วยอด
5.นางกันยา ยาชะรัด

หมู่ 2 บ้านวังปริง ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

13.64
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

8.44

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในหมู่บ้านเข้าถึงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนในหมู่บ้านเข้าถึงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า ร้อยละ 50

13.64 8.00
2 ประชาชนในหมู่บ้านเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน

ประชาชนในหมู่บ้านเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวานมากกว่า ร้อยละ 50

8.44 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 206
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่รับผิดชอบ (รพ.สต./เทศบาล/อสม./ผู้นำชุมชน) จำนวน 15 คน จำนวน 1 ครั้ง ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2567 ถึง 4 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม ครบร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานและร่วมจัดหาสถานที่ เครื่องมือ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและร่วมจัดหาสถานที่ เครื่องมือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและร่วมจัดหาสถานที่ เครื่องมือและมีอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน ประกอบด้วย
-ค่าป้ายชื่อสถานีสุขภาพ โฟมบอร์ด จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตสูง จำนวน 1 เครื่องๆละ 2000 บาท เป็นเงิน 2000 บาท
-ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องๆละ 1000 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
-ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่องๆละ 2000 บาท เป็นเงิน 2000 บาท
-ค่าที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 ตัวๆละ 1000 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
-ค่าแผ่นป้ายความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 1 ป้ายๆละ 1000 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 6 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีป้ายชื่อสถานีสุขภาพ จำนวน 1 ป้าย -มีเครื่องวัดความดันโลหิตสูง จำนวน 1 เครื่อง -มีเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง -มีเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง -มีที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 ตัว -มีแผ่นป้ายความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 1 ป้าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองเบื่้องต้น ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย รอบอว วัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลในเลือด การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การประเมินสุขภาพจิต

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 50 ของประชากรกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยงและให้คำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงและให้คำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าถึงบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล ได้รับการประเมินความเสี่ยงและได้รับคำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าถึงบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล ได้รับการการประเมินความเสี่ยง ร้อยละ 40

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ จำนวน 15 คน จำนวน 1 ครั้ง ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการครบร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพิ่มขึ้น
2.ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการสถานีสุขภาพดิจิทัล สุขภาพดีขึ้น
3.อัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง


>