2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมทำให้เชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้นเจริญเติบโตได้รวดเร็วสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (โรคไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (โรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือเท้าปาก, ฉี่หนู, ตาแดงฯลฯ) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กผู้สูงอายุผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนา อำเภอจะนะจังหวัดสงขลา และเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่แพร่ระบาดได้รวดเร็วเนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการระบาดตลอดปีและพบมากในฤดูฝน จากการสำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของตำบลบ้านนา 5 ปี ย้อนหลัง พ.ศ. 2561,2562,๒๕63,๒๕๖๔,256๕ และ ปี ๒๕๖๖ (ตั้งแต่ 1/1/2566 - 12/9/2566 ) พบว่า อัตราป่วย ๙๗.๒๒,85.07,๔๒.54,๐,๑๒๑.๕๓ และ 243.06 ต่อประชากรแสนคน (งานระบาดวิทยาสสอ.จะนะ) ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรและต้องลดลง 20% ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี จากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าบางปีอัตราป่วยยังสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดอยู่มาก ดังนั้นการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคติดต่อคือการป้องกันโรคล่วงหน้า ซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรคหากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบากและสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา ฯลฯ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านนา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดให้มีโครงการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาด เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา มีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการกับปัญหาโรคติดต่อต่างๆของชุมชนเอง ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมและป้องกันโรคต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 19/10/2023
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
2. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
3. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของเทศบาลตำบลบ้านนาลดลง
4. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับดีขึ้นไป