2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
อุบัติเหตุทางถนน ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมรัฐต้องสูญเสียงบประมาณ ในการเยียวยาและแก้ปัญหาในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจราจรอันเนื่องมาจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และพิการ จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ในปีพ.ศ. 2566 พบว่ามีอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่หมู่ที่ 1 บ้านตลาดนัดคลองขุด มากที่สุด อันดับที่ 2 บริเวณหมู่ที่ 1 บ้านบางไร่ และอันดับที่ 3 บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านดอนยางเหนือ ส่งผลให้มีประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ได้รับบาดเจ็บ บางรายทุพลภาพ และบางรายเสียชีวิตประกอบกับหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ดังนี้
1. ให้ปรับปรุงซ่อมแชมถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงในพื้นที่
2. ให้ปลูกฝังค่านิยมและวินัยในการใช้ยานพาหนะ รวมถึงสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนนให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
3.ให้จัดทำป้ายเตือน ป้ายบังคับ ป้ายสัญลักษณ์ ป้ายกำกับความเร็ว และติดตั้งในบริเวณที่เหมาะสมที่ทำให้ผู้ขับขี่และผู้ข้ามถนนมองเห็นได้ชัดเจน
4. ให้มีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประจำตลอดทั้งปี และรายงานผลการดำเนินงานให้ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอทราบ
5. ให้มีมาตราการสวมหมวกนิรภัย 100 % โดยอาศัยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจและตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของถนนจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดเหตุบ่อยครั้ง และจุดที่เกิดอุบัติเหตุใหญ่ในพื้นที่ และดำเนินการปรับปรุงซ่อมแชมให้มีความปลอดภัย และรายงานให้อำเภอทราบผ่านทางศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและช่วยสำรวจตรวจสอบความถูกต้องต่อไป
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนได้ตลอดเวลา จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่และรู้จักวิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาในขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง เกิดกลไกการบริหารจัดการความเสี่ยงร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 17/01/2024
กำหนดเสร็จ 29/03/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และร่วมสร้างค่านิยมในการรับผิดชอบสังคมต่อการเคารพวินัยจราจรอย่างเคร่งครัด
2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่และรู้จักวิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาในขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ
3. ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
4. ป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากความประมาทในการใช้รถใช้ถนน