กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากห่างไกลโรคฟันผุโรงเรียนบ้านอุไร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านอุไร

1.นางสาวดวงฤทัย ชำนาญเพาะ ผู้ประสานงานคนที่ 1 เบอร์โทร 0-8054-08148
2.นายสนันท์ มณีโส๊ะ ผู้ประสานงานคนที่ 2 เบอร์โทร 0-8729-28386
3.นางสุวิมล จิตเที่ยง ผู้ประสานงานคนที่ 3 เบอร์โทร 0-8169-83611
4.นางสาวฟารีดา หาหลัง เบอร์โทร 088-8356753
5.นายอังศุชวาล ทรงนาศึก

หมู่ที่ 8 ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การศึกษากับสุขภาพอนามัยของผู้เรียนเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพของเด็กสามารถทำให้เด็กดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย
ปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านอุไร เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก จากการตรวจฟันของนักเรียนปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา จำนวน 61 คน พบว่าฟันผุ จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 81.96ซึ่งโรคฟันผุนี้เกิดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก เป็นสาเหตุให้เด็กหลายคนทนทุกข์ทรมานจากการปวดฟัน มีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร การเจริญเติบโตช้าทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา นอกจากนั้นทำให้เด็กต้องขาดเรียนบ่อย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กในโรงเรียนฟันผุ พบว่าเกิดจากพฤติกรรมของเด็ก เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีรสหวาน ไม่สนใจเรื่องการแปรงฟัน แปรงฟันไม่ถูกวิธี และผู้ปกครองไม่ได้กำชับให้เด็กแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ การแก้ไขโรคฟันผุต้องอาศัยการทำงานแบบบูรณาการกับหลายภาคส่วนทั้งโรงเรียน ครอบครัว และเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการทำงานในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างคลอบคลุม
โรงเรียนบ้านอุไรมีความตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ห่างไกลโรคฟันผุ เพื่อให้นักเรียนมีอัตราโรคฟันผุลดลง โดยการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากและการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์กับนักเรียน ผู้ปกครอง ส่งเสริมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร และตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน กรณีที่พบนักเรียนฟันผุก็ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งติดตามพฤติกรรมของนักเรียนขณะอยู่ที่บ้าน พร้อมทั้งสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี ในการส่งเสริมให้เด็กมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดี ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีอัตราฟันผุลดลง

1.นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก 2.เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 50

81.96 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 61
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก (เหงือกและฟัน)

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังและตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก (เหงือกและฟัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาล – ป.6 นักเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนทั้งหมด จำนวน 51 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

1.2 ดำเนินการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข และบันทึกข้อมูลสุขภาพฟันเด็ก

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนทั้งหมด จำนวน 51 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

1.3 กรณีตรวจพบนักเรียนที่ฟันผุ แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และส่งต่อเข้ารับการรักษา

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนทั้งหมด จำนวน 51 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

1.4 โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนทั้งหมด จำนวน 51 คน

งบประมาณ

  • ค่าสมุดบันทึกการแปรงฟันของนักเรียนจำนวน 51 เล่ม ๆ ละ 20 บาทเป็นเงิน 1,020 บาท

1.5 ครูผู้รับผิดชอบแต่ละชั้นเรียนลงเยี่ยมและติดตามพฤติกรรมการแปรงฟันของนักเรียนไปยังผู้ปกครอง ติดตามการแปรงฟันผ่านสมุดบันทึกการแปรงฟัน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนทั้งหมด จำนวน 51 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1020.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม ให้ความรู้หลักสูตร 1 วันในเรื่อง ดังนี้

2.1 ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ อาการ สาเหตุ และการรักษาอย่างถูกวิธี

2.2. ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการและอาหารหลัก 5 หมู่

2.3. หลักปฏิบัติเพื่อสุขภาพ 5 อ.

2.4. เจ้าหน้าที่สอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับเด็กและผู้ปกครอง

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน 51คน
  • ผู้ปกครอง40 คน
  • ครู จำนวน10 คน รวมทั้งสิ้น101คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับนักเรียน ผู้ปกครองและครู จำนวน 101 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,050 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนผู้ปกครองและครูจำนวน 101 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 6,565 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง 30 นาที ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 675 บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม (ปากกา สมุด แฟ้มเอกสาร เป็นต้น) เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าอุปกรณ์สอนสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 51 ด้ามๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,040 บาท

  • ค่าแก้วน้ำ จำนวน 51 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,020 บาท

  • ค่าผ้าขนหนู จำนวน 51 ผืนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,785 บาท

  • ค่ายาสีฟัน 10 หลอดๆละ 60 บาทเป็นเงิน 600 บาท

  • ค่าโมเดลฟัน 1 อัน ๆ ละ1,250บาท

รวมเป็นเงิน 24,285 บาท

ฝึกปฏิบัติเป็นเวลา 30 วัน โดยควบคุมดูแลจากครูประจำชั้น

*ติดตามกิจกรรมฝึกปฏิบัติการแปรงฟันสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3เดือน *

กำหนดการหลักสูตรการอบรม (อบรมวันหยุดราชการ)

08.00 - 08.30 ลงทะเบียน

08.30 - 09.00 พิธีเปิด

09.00 - 10.30 บรรยายให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการและอาหารหลัก 5 หมู่

10.30 - 10.45 พักรับประทา่นอาหารว่าง

10.45 - 12.15 บรรยายเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อสุขภาพ 5 อ.

12.15 - 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ อาการ สาเหตุ และการรักษาฟันอย่างถูกวิธี

14.30 - 14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 - 15.45 บรรยายและสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี

15.45 - 16.45 กิจกรรม"เรามาแปรงฟันกันเถอะ"

16.45 พิธีปิด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24285.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1. นโยบายการจัดการเรื่องอาหาร/ขนม/ เครื่องดื่ม

  • การดูแลเรื่องอาหารกลางวันและอาหารว่าง

  • นํ้าดื่มสะอาด

  • การจัดระเบียบการจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อฟันผุ ได้แก่ ท็อฟฟี่ น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงรส เป็นต้น

3.2. การจัดกระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมการแปรงฟันที่ถูกวิธี

  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เด็กมีส่วนร่วม มีสื่อการเรียนการสอน

  • แต่ละชั้นเรียนมีมุมส่งเสริมทันตสุขภาพภายในห้องเรียน พร้อมจัดเก็บอุปกรณ์การแปรงฟันที่ถูกสุขลักษณะ

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน 51คน

  • ครู จำนวน10 คน

งบประมาณ

  • ค่าแผ่นภาพโปสเตอร์ และวัสดุในการจัดทำสื่อแต่ละห้องเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟันและขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธีจำนวน 8 ห้อง ๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท

  • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ทันตสุขภาพ(โฟมบอร์ด) ขนาด 0.80 x1.20 ตารางเมตร จำนวน 3 ป้าย ๆละ 670 บาทเป็นเงิน 2,010 บาท

  • ชั้นวางอุปกรณ์การแปรงฟัน จำนวน 8 ชิ้นๆละ 350 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

  • กระดาษการ์ด มุมขอบทอง จำนวน 1 แพ็ค เป็นเงิน 175 บาท

รวมทั้งสิ้น 8,985 บาท

3.3. จัดทำวีดิทัศน์การแปรงฟันของโรงเรียนบ้านอุไร

  • วีดิทัศน์สาเหตุและขั้นตอนการแปรงฟัน

  • วีดิทัศน์รายงานผลการทำกิจกรรมของโรงเรียนบ้านอุไร

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำสื่อวีดิทัศน์ 2 วีดิโอ จำนวนเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14985.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  • จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,290.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย
2.นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับส่งต่อรักษาอย่างถูกวิธี
3.อัตราการเกิดฟันผุของนักเรียนลดลง
4.มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี


>