กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3

นางสาวมีณาพรหมาด

อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ 3ตำบลเกตรีอำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีสุขภาพที่ดีเปนความต้องการของมนุษย์ทุกคน การบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเหมาะสมกับวัย นับเปนหนึ่งในปจจัยที่สำคัญของการมีสุขภาวะที่ดี นอกจากนี้การที่จะมีสุขภาพดีนั้นขึ้นกับปจจัยอื่นๆได้แก่ การออกกำลังกายเปนประจำ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์อีกด้วย
ปัญหาโภชนาการของประชาชนหมู่ที่ 3 ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกต้อง ทำให้ขาดความรู้และเจตคติที่ดีต่อการกินอาหารที่นำไปสู่การมีภาวะโภชนาการและสุขอนามัยที่ดีตามโภชนบัญญัติ อีกทั้งยังมีค่านิยมในการเลือกซื้อผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีความเสี่ยงอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆ มาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ให้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และเหมาะสมกับวัย และส่งเสริมการปลูกพืชผักกินเองในครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และเหมาะสมกับวัย
2. เพื่อให้รู้ถึงอันตรายและผลกระทบจากการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้าง
3. เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โดยวิทยากร เป็นการให้ความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะปลอดภัยและเหมาะสมกับวัย รวมถึงการให้ความรู้เรื่องอันตรายและผลกระทบจากการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โดยวิทยากร เป็นการให้ความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะปลอดภัยและเหมาะสมกับวัย รวมถึงการให้ความรู้เรื่องอันตรายและผลกระทบจากการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5*2 เมตรๆละ 150 บาทจำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าวิทยากรในวันอบรม จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาทจำนวน 1 วันเป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70คนๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 85 บาทเป็นเงิน 5,950 บาท
  • ค่าแฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 70 ใบๆ ละ 20 บาทเป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าเอกสารให้ความรู้จำนวน 70 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน1,400 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 70 ด้ามๆละ 5 บาทเป็นเงิน 350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และเหมาะสมกับวัย 2. ประชาชนรู้ถึงอันตรายและผลกระทบจากการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15450.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชผักกินเอง เป็นการมอบพันธุ์/เมล็ดพันธ์พืชผักเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชผักกินเอง เป็นการมอบพันธุ์/เมล็ดพันธ์พืชผักเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพันธุ์/เมล็ดพันธ์ ชุดละ 30 บาท จำนวน 70 ชุด เป็นเงิน 2,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และเหมาะสมกับวัย
2. ประชาชนรู้ถึงอันตรายและผลกระทบจากการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้าง
3. ประชาชนปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน


>