กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศาสนานำสร้างสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่ 5 คน

1.นายซูรีกีซาและ (ประธาน)
2.นายฮาฟิตยูโซ๊ะ(รองประธาน)
3.นายอับดุลรอแมสาแม (กรรมการ)
4.นายอับดุลเล๊าะแซ (กรรมการ)
5.นายหมัดเปาซียูนุ (กรรมการ)

เขตพื้นที่ตำบลตันหยงมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลตันหยงมัส นับวันจะเพิ่มจำนวนปัญหามากขึ้นและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องอาศัยความร่วมมือของภาคประชาชนเป็นอย่างมากและต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนให้ตระหนักในปัญหาสุขภาพของตนเอง
ในพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน ของศาสนาอิสลาม ได้บัญญัติในเรื่องของวิธีชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตัวของชาวมุสลิมไว้อย่างครบถ้วน รวมทั้งการปฏิบัติตัวให้ถูกหลักสุขภาวะทางอนามัย อื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ครบครัว ชุมชน สังคม อยู่อย่างปกติสุขและปลอดโรค เช่น หลักการของการรักษาความสะอาด หลักการของการไม่ผิดประเวณี และหลักการของการบริโภคอาหาร เป็นต้น
หลักการเหล่านี้เป็นหลักการที่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งบทบัญญัติในพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นบทบัญญัติที่ผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนถือศิลอดของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม(รอมฏอน)ต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในศิลอย่างเคร่งครัดจึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้บทบัญญัติในพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน และแนวทางปฏิบัติของท่านศาสดานบีมูฮัมหมัด(ซล)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักในด้านสุขภาพโดยอ้างอิงหลักการศาสนาอิสลาม ที่สอดคล้องกับหลักการวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

0.00
2 เพื่อเป็นการลดโรคที่สามารถป้องกันได้

 

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและรับรู้ในกิจกรรมด้านสุขภาพด้วยตนเอง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบรรยายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบรรยายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 1,200.- บาท = 3,600 x 15 แห่ง เป็นเงิน 54,000.- บาท
  • ค่าเช่าเวที แห่งละ 6,000.- บาท x 14 ชุมชน เป็นเงิน 84,000.- บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียง ชุมชนละ 2,500.- บาท x 15 ชุมชน เป็นเงิน 37,500.- บาท
  • ค่าไวนิลขนาด 2 เมตร x 4.8 เมตร = 2,400.- บาท x 15 ชุมชน เป็นเงิน 36,000.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 3,000 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30.- บาท เป็นเงิน 90,000.- บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 302,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
302000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 302,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนได้ความรู้ด้านสุขภาพโดยหลักการศาสนาอิสลาม ที่สอดคล้องกับหลักทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- อัตราป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ลดลง
- ชุมชนมีส่วนร่วมและรับรู้ในกิจกรรมด้านสุขภาพด้วยตนเอง


>