กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

เขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อต่างๆ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศปัจจุบันพบในประชาชนทุกกลุ่มอายุกระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี
ในปีงบประมาณ 2567กระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบและให้ความสำคัญกับนโยบาย “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” โดยใช้อำเภอเป็นจุดเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์โดยกำหนดคุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน5 ด้านประกอบด้วย1) มีคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2) มีระบบระบาดวิทยาในระดับอำเภอที่ดี 3) มีการวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 4) มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม 5) มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันที่สำคัญคุณลักษณะทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่จะบูรณาการดำเนินงานของภาครัฐภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนรวมทั้งให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เรียนรู้การวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ของตนเองโดยการดำเนินงานในลักษณะ“ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการร่วมประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับเพื่อช่วยกันค้นหาและแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคในระดับประชาชนทั้งนี้การแก้ไขปัญหาควรสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง โดยหน่วยบริการและหน่วยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลักสามารถใช้ข้อมูลข้อสนเทศที่เกี่ยงข้องประกอบการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่ รวมทั้งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้เข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก

ยุงลายในพื้นที่ถูกกำจัด

60.00 60.00
2 เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นหมดไป

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนได้ตื่นตัวตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีสุขภาพที่ดีไม่เป็นไข้เลือดออก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมการทำปูนแดง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการทำปูนแดง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๑ จัดอบรมการทำปูนแดง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๘๐ คน ๆ ๑ มื้อ ๆละ ๒๕ บาทเป็นเงิน๒,๐๐๐ บาท
- ค่าวัสดุ ได้แก่ ปูนแดง ขิงตะไคร้หอม เป็นเงิน๕,๐๐๐ บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ๒ ช.ม. x ๔๐๐ บาทเป็นเงิน๘๐๐บาท
เป็นเงิน๗,๘๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในการจัดทำปูนแดงป้องกันลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๒ ลงพื้นที่ควบคุมโรค - ค่าทรายอะเบท เป็นเงิน๕,๐๐๐ บาท
- ค่าเคมีภัณฑ์ เป็นเงิน๔,๙๕๐ บาท
- ค่าตอบแทนการพ่น(กรณีเกิดโรค) ๗๕๐ บ / ครั้ง * ๒๐ ราย เป็นเงิน๑๕,๐๐๐ บาท เป็นเงิน๒๔,๙๕๐ บาท ป็นเงินทั้งสิ้น ๓๒,๓๕๐ บาท (สามหมื่นสองพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ระหว่างรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ยุงลายในพื้นที่ถูกกำจัด
๒. การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นหมดไป
๓. ประชาชนมีสุขภาพที่ดีไม่เป็นไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,750.00 บาท

หมายเหตุ :
*

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ยุงลายในพื้นที่ถูกกำจัด
๒. การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นหมดไป
๓. ประชาชนมีสุขภาพที่ดีไม่เป็นไข้เลือดออก


>