กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการส่งเสริมการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะโดยชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

กลุ่มธนาคารขยะรีไซเคิลบ้านทุ่งหมู่ที่ 7

สากรียาพรหมาด

กลุ่มธนาคารขยะรีไซเคิลบ้านทุ่งหมู่ที่ 7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และ สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆ จัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในครัวเรือนและชุมชน
ดังนั้นกลุ่มธนาคารขยะรีไซเคิล บ้านทุ่ง หมู่ที่ 7ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะและถูกวิธี ซึ่งกลวิธีสำคัญวิธีหนึ่งในการสร้างเสริมและป้องกันสุขภาพและปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะและถูกวิธีและต่อเนื่องคือความพร้อมใจกันมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ความตระหนักและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไม่ว่าจะเป็นขยะมูลฝอยธรรมดาทั่วไปหรือขยะอันตรายและเล็งเห็นคุณค่าของขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อย่างมีคุณค่า ซึ่งยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบได้ทำให้ช่วยลดสภาวะเรือนกระจกกกลุ่มธนาคารขยะรีไซเคิล บ้านทุ่ง หมู่ที่ 7จึงได้นำเสนอโครงการส่งเสริมการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะโดยชุมชนเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนนำไปสู่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ปลอดภัยต่อสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2มื้อเป็น เงิน1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด1.5 2 เมตรๆละ 150 บาทเป็นเงิน 450บาท -อาหารกลางวัน จำนวน 70คน ๆละ 85 บาท   เป็นเงิน 5,900  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท -  ค่าวิทยากร จำนวน  4ชม ๆละ 600  บาท    เป็นเงิน  2,400บาท -จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เสียง        เป็นเงิน 1,000บาท                                                                                                           - ป้ายโฟมบอร็ ขนาด 0.51*เมตร จำนวน 5 แผ่นๆละ430บาทเป็นเงิน  2,150  บาท - ค่าลำโพงลากจูง    ขนาด 12นิ้ว   เป็นเงิน  8,800บาท - ค่าแฟ้มใส่เอกสาร 70 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน  1,400 บาท - ค่าแผ่นพับสี จำนวน 70 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 350 บาท - ค่าปากกา จำนวน 70 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 350 บาท -ค่าสมุด จำนวน 70 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักและเกิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

กิจกรรมที่ 3 3 ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะ การคัดแยก และ การนำขยะรีไซเคิล มาใช้ประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
3 ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะ การคัดแยก และ การนำขยะรีไซเคิล มาใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตะกล้าใบใหญ่   เบอร์ 1 จำนวน  2 ใบ ๆละ 230 บาท เป็นเงิน 460บาท - ค่าไม้กวาด เหล็ก   3 ด้าม ๆละ 145บาท  เป็นเงิน 435 บาท - อาหารว่าง   30 คน ๆละ  25 บาท จำนวน  5 ครั้ง      เป็นเงิน  3,750บาท                                                                                                           - ถุงมือยางอนามัย 5 กล่องๆละ 220 บาท  เป็นเงิน  1,100บาท - เก้าอี้ เล็กเตี้ย 15ตัวๆละ 130 บาท  เป็นเงิน  1,950บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 13 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างถูกสุขลักษณะ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7695.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,695.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างถูกสุขลักษณะ
2. สามารถลดปริมาณขยะในชุมชนนำไปสู่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่
3. ทำให้ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักและเกิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะที่ถูกต้อง
4. สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ของแมลง/สัตว์ ที่เป็นพาหะนำโรค


>