กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงกาารอสม. และผู้ประกอบการร้านค้าร่วมใจสร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2567 รพ.สต.บ้านทรายขาว

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงกาารอสม. และผู้ประกอบการร้านค้าร่วมใจสร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2567 รพ.สต.บ้านทรายขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว

1.นายวิโรจ ชาญแท้
2.นางพรรณฤพร พิเศษ
3.นางซูไนดา ตามะ
4.นางสาวเสาวนีย์ เทพกำเหนิด
5.นางสาวนูรยาตีม ดอเลาะ

ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากนโยบายภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว จึงมีแผนที่จะให้มีโครงการร่วมใจ สร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุมครองผู้บริโภคปีงบประมาณ 2567 โดยสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการร้านค้าและการสร้างแกนนำ อสม.ให้มีการเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ฯลฯทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ อสม.มีความรู้และสามารถให้คำแนะนำแก่ร้านชำได้

อสม มีความรู้ในงาน คุ้มครองผู้บริโภค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า มีความรู้ขั้นพื้นฐานในงานคุ้มครองผู้บริโภค

ผู้ประกอบการร้านชำและแผงลอยมีความรู้ขั้นพื้นฐานในงานคุ้มครองผู้บริโภค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้กับอสม. ผู้ประกอบการร้านค้า เกี่ยวกับโครงการร่วมใจ สร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้กับอสม. ผู้ประกอบการร้านค้า เกี่ยวกับโครงการร่วมใจ สร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม อสม.เกี่ยวกับการตรวจประเมินร้านชำ และอบรมอสม. ผู้ประกอบร้านค้าเกี่ยวกับการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
อบรม อสม.เกี่ยวกับการตรวจประเมินร้านชำ และอบรมอสม. ผู้ประกอบร้านค้าเกี่ยวกับการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายโครงการ 1 ป้าย 700.-บาท กิจกรรมอบรมอสม.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาทจำนวน2 วัน เป็นเงิน5,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ1 มื้อๆละ 65 บาท จำนวน 2 วันเป็นเงิน 5,200 บาท.- กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการร้านค้า
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆละ1 มื้อๆละ 65 บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 1,300 บาท.-
  • ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 4,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านค้าและอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนสีขาวปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย และประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์และอาหารที่ปลอดภัย


>