กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

กลุ่ม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทรายขาว

1.นางสาวซาวานิง ยาเต็ง
2.นางหมวก ยอมเต็ม
3.นายลัด หมื่นเพชร
4.นางสาวสมพร แจวิจารณ์
5.นางกีลีนา ลอยะ

ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานระบาดวิทยาของ ตำบลไพรวัน ในปี 2566 พบว่า ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 15 ราย ประกอบด้วย หมู่ที่ 1พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย, หมู่ที่ 2 บ้านทรายขาว พบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย, หมู่ที่ 3 บ้านตอหลัง พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย, หมู่ที่ 4 บ้านคลองไหล พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย, หมู่ที่ 9 บ้านบาเดาะมาตี พบผู้ป่วยจำนวน 6 ราย จะเห็นได้ว่าปี 2566 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกือบทุกพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาวเนื่องจากชุมชนในปัจจุบันได้มีการขยายตัวมากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดการแพร่พันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา จากอดีตที่ผ่านมาการระบาดของไข้เลือดออกมักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบว่าโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดได้ทุกฤดูกาล และนโยบายการพัฒนาบริการสาธารณสุขได้เปลี่ยนจากเชิงรับมาเน้นการให้บริการในเชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้องค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเองมากขึ้นขณะเดียวกันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้หากประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันโรคที่ถูกต้อง การสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคและปลูกจิตสำนึกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกกลุ่มวัย องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น ทางกลุ่ม อสม .โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว เล็งเห็นความสำคัญต่อการขับเคลื่อนโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2567 อย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

0.00
2 เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

มีกิจกรรมสำรวจลูกน้ำทุกบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้เรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

เด็กนักเรียนได้รับความรู้เรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 41
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,834
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อสม.และประชาชน ร่วมกันสำรวจแหล่งและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
อสม.และประชาชน ร่วมกันสำรวจแหล่งและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อสม.ติดตามเฝ้าระวังโรคในพื้นที่และความคุมโรคในโรงเรียนโดยการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
อสม.ติดตามเฝ้าระวังโรคในพื้นที่และความคุมโรคในโรงเรียนโดยการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุเคมี - ทรายอะเบท 2 ถัง5,030 บาท เป็นเงิน 10,060.- บาท
- สเปรย์กำจัดยุง 115 ขวด65 บาท เป็นเงิน 7,475 บาท
- ยาทากันยุง 283 ขวด 40 บาท เป็นเงิน11,320.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28855.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกในเด็กนักเรียนชั้น ป.4 – ป.6

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกในเด็กนักเรียนชั้น ป.4 – ป.6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 41 คนๆละ 1 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,435.-บาท
  • ค่าวัสดุสำนักงานจำนวน 41 คน x 30 บาท เป็นเงิน1,260 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2695.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง และไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
3. นักเรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก


>