กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปลอดโรค ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

กลุ่ม อสม. รพ.สต.บ้านทรายขาว

1.นางสาวซาวานิง ยาเต็ง
2.นางหมวก ยอมเต็ม
3.นายลัด หมื่นเพชร
4.นางสาวสมพร แจวิจารณ์
5.นางกีลีนา ลอยะ

ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ 3.7 เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมองและภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอด ไตวาย การถูกตัดอวัยวะปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือ การบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง การบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม มัน และหวาน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ 2 ส พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด รวมทั้งไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
ทางกลุ่ม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปลอดโรค มุ่งหวังให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยในชุมชนมีความรู้ มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงได้รับการกระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคจนสามารถดูแลตนเอง คนในครอบครัวและชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ 2 ส และไม่เกิดกลุ่มป่วย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตนเองร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 24
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 24
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/06/2024

กำหนดเสร็จ 28/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดัน หาดัชนีมวลกาย เพื่อเป็นข้อมูลในการวัดประเมินผล 2.2 จัดอบรมให้ความรู้ใช้หลัก 3 อ 2 ส โดยแบ่งเป็น 4 ฐานความรู้ - ฐานอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ - ฐานอารมณ์ - ฐานออกกำลังกาย - ฐานงดสุรา และสูบบุหรี่ 3. ส่งเสริมการปลูกผักกินเองในครัวเรือน และการออกกำลังกายร่วมกัน 4. ประเมินและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม งบประมาณ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 48 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,360 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 48 คน ๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 3,120 บาท -ค่าเครื่องเสียง จำนวน 1 ชุดๆละ 3,800 บาท เป็นเงิน 3,800 บาท - ค่าวัสดุสำนักงานจำนวน 48 คน x 25 บาท เป็นเงิน1,200 บาท - ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้
2. อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง


>