กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6

นางจิด๊ะ อาดำ

อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ 6 ตำบลเกตรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขของไทย โดยมีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐนอกเหนือจากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแล้ว แนวคิดดังกล่าวอาจช่วยให้ระบบสาธารณสุขของไทย มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำลง เนื่องจากการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพแบบคนไทยที่มุ่งทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ มีกิจกรรมในการดูแลสุขภาพ การรักษาพยาบาล เช่น การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนวดไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ผักพื้นบ้าน อาหารตามฤดูกาล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวประชาชนสามารถที่จะจัดหาได้เองและมีอยู่แล้วในท้องถิ่น เป็นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ อันซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคเท่านั้น สำหรับบริบทในพื้นที่หมู่ที่ 6เป็นสังคมชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำให้มีความเสี่ยงและเกิดอันตรายจากการประกอบอาชีพโดยเฉพาะปัจจัยทางกายภาพ และเออรโกโนมิค เช่น การทำงานในที่มีอากาศรอนทําใหเกิดการเสียน้ำจากเหงื่อออกมากเกินไปออนเพลีย เปนลม และหมดสติได รวมถึงทาทางและสภาพการทํางานที่ไมเหมาะสม อาจทำใหเกิดปวดหลัง ปวดกลามเนื้อและอาการบาดเจ็บของกลามเนื้อและขออื่นๆ
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยมาใช้ในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการจัดการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ไปใช้ดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2. เพื่อส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการดูแลสุขภาพ
3. เพื่อฝึกปฏิบัติทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5*2 เมตรๆละ 150 บาทจำนวน 1 ผืน  เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าวิทยากรในวันอบรม จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600บาท  จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50  คนๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 85บาท เป็นเงิน 4,250 บาท
  • ค่าแฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 50 ใบๆ ละ 20 บาท  เป็นเงิน   1,000 บาท
  • ค่าเอกสารให้ความรู้จำนวน 50 ชุด ๆละ 20 บาท เป็นเงิน  1,000 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 50 ด้ามๆละ 5 บาท  เป็นเงิน 250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนสามารถฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยคงอยู่สืบไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพันธุ์/เมล็ดพันธ์สมุนไพร ชุดละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้ใช้พื้นสมุนไพรรอบตัวมาใช้ในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฝึกปฏิบัติสาธิตการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกปฏิบัติสาธิตการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรในวันอบรม จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600บาท  จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50  คนๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 85บาท เป็นเงิน 4,250 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ชุดสาธิตการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร  ดังนี้

    • ขิง จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 140บาท  เป็นเงิน 140 บาท     - น้ำมันมะพร้าว จำนวน 1.5 ลิตร     เป็นเงิน 170 บาท     - น้ำมันระกำ จำนวน 100 มิลลิลิตร  เป็นเงิน 50 บาท
  • น้ำมันยูคาลิป  จำนวน 200 มิลลิลิตร  เป็นเงิน 400 บาท         - การบูร จำนวน 250 กรัม  เป็นเงิน 190 บาท         - เมนทอล จำนวน 250 กรัม เป็นเงิน 270 บาท         - พิมเสน จำนวน 250 กรัม เป็นเงิน 260 บาท         - พาราฟิน จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 100 บาท เป็นเงิน 100 บาท         - วาสลีน จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 120 บาท  เป็นเงิน 120 บาท         - ขวดยาหม่องมีฝาปิด ขนาด 50 มล. จำนวน 50 ขวดๆละ  15 บาท  เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนสามารถฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยคงอยู่สืบไป
2. ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ


>