กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรคซึมเศร้า ภัยเงียบทำลายชีวิต บำบัดจิตแบบอิสลาม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2

นางฮาหวาหมัดหมาน

มัสยิดดารุลอาหม้าน หมู่ที่ 2 ตำบลเกตรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบบ่อย มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ปัจจุบันโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและการรักษาทางจิตใจ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บวกกับสภาพชุมชนในปัจจุบันทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับปัญญาในการปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความคับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ทำให้เกิดความท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต เครียดส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ด้านภาวะอารมณ์ ภาวะสุขภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ของประชาชน และหากไม่ได้รับการดูแลใส่ใจจากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วยิ่งส่งผลให้มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองลดน้อยลง เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงขึ้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตได้ สำหรับ หมู่ที่ 2 ตำบลเกตรี ในปี 2566 ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อที่มาคัดกรองประมาณ 130 คน ที่เป็นแล้วประมาณ 50 คน และมีกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นประมาณ 6 คน สังเกตได้ว่าในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี
จากปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่ที่ 2 เห็นถึงความสำคัญของผู้ป่วยเหล่านี้ ทำอย่างไรให้เขาอยู่กับโรคที่เป็นอย่างมีความสุข จึงได้จัดโครงการโครงซึมเศร้า ภัยเงียบทำลายชีวิต บำบัดจิตแบบอิสลาม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และผลกระบทของภาวะของโรค เข้าใจตนเองแหละผู้อื่น เพื่อให้ทีแนวทางป้องกันและไม่ให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้และเข้าใจโรคซึมเศร้ามากขึ้น
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทักษะแนวคิดในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิล 1.5คูณ 2เมตร เมตรละ 150 บาท 1 แผ่น                เป็นเงิน  450บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ มื้อละ 85 บาท จำนวน 60 คน    เป็นเงิน  5,100บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน  3,000บาท
  • ค่าวิทยากร 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท                                      เป็นเงิน  2,400บาท
  • ค่าแผ่นพับโรคซึมเศร้า 60 แผ่น แผ่นละ 5 บาท                    เป็นเงิน  300บาท
  • ค่าแฟ้มใส่เอกสาร60ใบๆละ 20บาท                เป็นเงิน  1,200บาท
  • ค่าสมุดจำนวน 60 เล่ม เล่มละ 10 บาท                เป็นเงิน  600บาท
  • ค่าปากกา 60 ด้าม ด้ามละ 5 บาท                เป็นเงิน  300บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และเข้าใจโรคซึมเศร้ามากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และเข้าใจโรคซึมเศร้ามากขึ้น
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะแนวคิดในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข


>