กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแว่นตาใสใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลหารเทา ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

เทศบาลตำบลหารเทา

เทศบาลตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันตำบลหารเทากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากอัตราการเกิดน้อยลง และในขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือการเกิดภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุ เพราะอวัยวะทุกส่วนของร่างกายจะเสื่อมลงตามกาลเวลา ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญที่ช่วยในการมองเห็นจึงควรดูแลสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ ความผิดปกติทางสายตาสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุยังน้อยทำให้มีอุปสรรคในการดำรงชีวิต เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมลง ดวงตาและประสาทตาก็จะเสื่อมตามอายุสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์มองเห็นคือ ดวงตา และประสาทตา ดังนั้น การดูแลรักษาที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับมนุษย์ทุกคน เนื่องจากทำให้การปฏิบัติทุกอย่างเกิดความสะดวก ถูกต้อง และเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน ซึ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตามีหลายชนิด ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการสวมแว่นสายตาที่เหมาะสม
จากความสำคัญดังกล่าวเทศบาลตำบลหารเทา ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องสายตาของผู้สูงอายุ จึงจัดทำโครงการแว่นตาใสใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้คำปรึกษา ตรวจวัดสายตาและจัดหาแว่นตาให้แก่ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางด้านสาย พร้อมให้ความรู้ในการดูแลรักษาดวงตาของผู้สูงอายุ โดยการตรวจวินิจฉัยโรคทางตาและตรวจวัดสายตาสำหรับใช้แว่นตาที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในเขตเทศบาลตำบลหารเทา ที่มีปัญหาด้านสายตาและช่วยให้ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ที่มีบกพร่องทางการมองเห็นได้รับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตาได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินสุขภาพสายตาแก่ผู้สูงอายุ และตรวจคัดกรองโรคทางสายตา

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางสายตาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติทางสายตาสามารถมองเห็นได้ตามปกติ

2.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสายตาได้รับแว่นสายตาที่เหมาะสม

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสที่มีความผิดปกติทางด้านสายตาสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในระดับชุมชนได้อย่างทั่วถึง

3.ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสที่มีความผิดปกติทางด้านสายตาได้รับบริการสาธารณสุขในระดับชุมชนได้อย่างทั่วถึง

0.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตาและสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

4.ผู้สูงอายุไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ที่ได้เข้าร่วมโครงการได้รับความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตาและสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 165
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้บริการตรวจวัดค่าสายตาเพื่อดำเนินการตัดแว่นตา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้บริการตรวจวัดค่าสายตาเพื่อดำเนินการตัดแว่นตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตรวจคัดกรองสายตาผู้สูงอายุ โดยจักษุแพทย์ จำนวน 165 คนๆละ 100 บาท (ตามอัตราค่าตอบแทนนอกเวลา) เป็นเงิน 16,500 บาท
-ค่าตัดแว่นภาวะสายตายาว,ภาวะสายสั้น,ภาวะสายตาเอียง,ภาวะสายตาสั้นและเอียง,สายยาวและเอียง กรอบพร้อมเลนส์ฯ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 165 คนๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 82,500 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มที่คัดกรองพร้อมเจ้าหน้าที่ จำนวน 165 คนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท
-ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางสายตาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
104550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความผิดปกติทางสายตาและการดูแลรักษาดวงตาในกลุ่มผู้สูงอายุพร้อมรับแว่นตา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความผิดปกติทางสายตาและการดูแลรักษาดวงตาในกลุ่มผู้สูงอายุพร้อมรับแว่นตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคความผิดปกติทางสายตา และการดูแลรักษาดวงตาให้กลุ่มผู้สูงอายุ
  2. พิธีมอบแว่นตาให้กับผู้สูงอายุ -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 165 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ได้รับความช่วยเหลือแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตาและประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 111,300.00 บาท

หมายเหตุ :
- จำนวนราคาแว่นตาเป็นตัวเลขประมาณการตามราคาสูงสุด และการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามผลวินิจฉัยและข้อบ่งชี้จากจักษุแพทย์
- ผู้สูงอายุและผู้พบปัญหาทางการมองเห็นที่ภาวะผิดปกติด้านการมองเห็น จะเบิกตามโรคของตา ตามที่ได้รับการแก้ไขดูแลเบี้ยงต้น แต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
- ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ตามความต้องของระเบียบ และความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางสายตา
2.ผู้สูงอายุที่ตรวจพบความผิดปกติทางสายตาได้รับแว่นสายตาที่เหมาะสม
3.ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการบิการสาธารณสุขในระดับชุมชนอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4..ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตาและสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข


>