2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ อาจทำให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก จะมีความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และเศรษฐกิจ ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความปวด ข้อเข่าฝืด เคลื่อนไหวลำบาก หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น ที่นำไปสู่ความพิการ ส่งผลให้เกิดความเครียด วิตกกังวล เกิดภาวะซึมเศร้า ทั้งยังเป็นโรคที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง แม้ว่าโรคข้อเข่าเสื่อมจะมีกระบวนการเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ภาวะข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะ สูงขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประเทศ ไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปพบได้ ถึงร้อยละ 50 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากใช้เข่ามาก อุบัติเหตุต่างๆ หรือโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อข้อเข่า เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เกาต์ (โรคข้อเข่าเสื่อมกับผู้สูงอายุ, ศาสตราจารย์คลินิก น.พ.วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท และคณะ) จากข้อมูลผู้สูงอายุในตำบลท่านั่งย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ในปี 2564 มีจำนวนผู้สูงอายุ 766 คน คิดเป็นร้อยละ 24.24 ของประชากรทั้งหมดและเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมร้อยละ 30.41 ของประชากรวัยสูงอายุ ต่อมาในปี 2565 มีจำนวนผู้สูงอายุ 792 คน คิดเป็นร้อยละ 24.49 ของประชากรทั้งหมดและเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมร้อยละ 27.90 ของประชากรวัยสูงอายุ และในปี 2566 มีจำนวนผู้สูงอายุ 829 คน คิดเป็นร้อยละ 26.29 ของประชากรทั้งหมดและเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมร้อยละ 30.51 ของประชากรวัยสูงอายุ(ฐานข้อมูลประชากรจากHDCจังหวัดพิจิตร) จากสถิติพบว่าจำนวนผู้สูงอายุจากปี 2564 ถึง 2566 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 24.29 เป็น ร้อยละ 26.29 และมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จากปี 2564 ถึง 2566 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.24 เป็นร้อยละ 30.51 อีกทั้งในปีที่ผ่านมาผู้สูงอายุในตำบลท่านั่งเห็นความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้นจึงทำให้มีผู้สูงอายุที่อยากเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมและระบบการไหลเวียนเลือดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมากขึ้นเรื่อยๆจากปีงบประมาณ 2565 มีผู้ที่สนใจเข้ารับบริการ 20 คน จนถึงในปีงบประมาณ 2566 มีผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการ 40 คน มีอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมลดลงถึงร้อยละ 75 ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 17.5 และอาการคงเดิม ร้อยละ 7.5 ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่งได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม และความต่อเนื่องในทำกิจกรรมลดอาการปวด เพื่อชะลอการเสื่อมของข้อเข่าในผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมและระบบการไหลเวียนเลือดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีอาการปวดของโรคเข่าเสื่อมดีขึ้น
2. ผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการโรคข้อเข่าเสื่อม
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2023
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่ดีขึ้น
ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลข้อเข่าด้วยตนเอง
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น