กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท้ายน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท้ายน้ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำ
นายธนภัทร จิต์ประสงค์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
นายธีรวิชญ์ กล้าหาญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำ

ภายในพื้นที่ ตำบลท้ายน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันตำบลท้ายน้ำ มีสถานประกอบการต่าง ๆ จำนวนมาก ได้แก่ ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร 19 ร้าน ,ตลาดนัด 3 แห่ง , ร้านขายของชำในหมู่บ้าน 49 ร้าน ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิดขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่ายจากการดำเนินงานเก็บข้อมูลตรวจร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารในตำบลท้ายน้ำ พบว่าบางร้านมีการจำหน่ายยาอันตรายให้กับคนในชุมชน , มีการจำหน่ายอาหารหมดอายุ , ไม่มีการติดป้ายหรือแสดงราคาสินค้าให้เห็นชัดเจน และมีการจำหน่ายอาหารสดที่พบสารปนเปื้อนการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำ ต้องทำการตรวจร้านชำ ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยอยู่เสมอเนื่องจากสถานประกอบการต่างๆ ในตำบลมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ในแต่ละปี เพื่อประเมินร้านค้าพร้อมทั้งให้ความรู้แก่ร้านค้าสามารถเลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนมาจำหน่ายแก่ประชาชนตำบลท้ายน้ำ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และให้ประชาชนตำบลท้ายน้ำปลอดภัยจากการอุปโภคและบริโภค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.
เพื่อตรวจประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและให้ความรู้แก่แผงลอยจำหน่ายอาหาร
2.
เพื่อตรวจประเมินมาตรฐานร้านขายของชำและให้ความรู้แก่ร้านขายของชำในชุมชน
3.
เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลท้ายน้ำ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,563
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารในตำบลท้ายน้ำ 19

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 15/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและเก็บข้อมูลผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและเก็บข้อมูลผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจและเก็บข้อมูลผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1. จำนวนร้านแผงลอยอาหาร ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 80
2. จำนวนร้านขายของชำ ผ่านเกณฑ์ประเมินแบบตรวจมาตรฐานร้านขายของชำ ร้อยละ 80
3. ไม่พบการจำหน่าย ยาอันตราย ในร้านขายของชำ ร้อยละ 60 4. ไม่ตรวจพบสารปนเปื้อนจากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดที่จำหน่ายในชุมชน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6290.00

กิจกรรมที่ 2 ออกตรวจร้านขายของชำและร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารร่วมกับ อสม.ตำบลท้ายน้ำ ปีละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจร้านขายของชำและร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารร่วมกับ อสม.ตำบลท้ายน้ำ ปีละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกตรวจร้านขายของชำและร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารร่วมกับ อสม.ตำบลท้ายน้ำ ปีละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1. จำนวนร้านแผงลอยอาหาร ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 80
2. จำนวนร้านขายของชำ ผ่านเกณฑ์ประเมินแบบตรวจมาตรฐานร้านขายของชำ ร้อยละ 80
3. ไม่พบการจำหน่าย ยาอันตราย ในร้านขายของชำ ร้อยละ 60 4. ไม่ตรวจพบสารปนเปื้อนจากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดที่จำหน่ายในชุมชน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดที่จำหน่ายในชุมชนมาตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดที่จำหน่ายในชุมชนมาตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดที่จำหน่ายในชุมชนมาตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1. จำนวนร้านแผงลอยอาหาร ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 80
2. จำนวนร้านขายของชำ ผ่านเกณฑ์ประเมินแบบตรวจมาตรฐานร้านขายของชำ ร้อยละ 80
3. ไม่พบการจำหน่าย ยาอันตราย ในร้านขายของชำ ร้อยละ 60 4. ไม่ตรวจพบสารปนเปื้อนจากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดที่จำหน่ายในชุมชน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.
จำนวนร้านแผงลอยอาหาร ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 80
2.
จำนวนร้านขายของชำ ผ่านเกณฑ์ประเมินแบบตรวจมาตรฐานร้านขายของชำ ร้อยละ 80
3.
ไม่พบการจำหน่าย ยาอันตราย ในร้านขายของชำ ร้อยละ 60
4.
ไม่ตรวจพบสารปนเปื้อนจากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดที่จำหน่ายในชุมชน ร้อยละ 90


>