กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาบัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาบัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

1.
2.
3.
4.
5.

โรงพยาบาลสุขภาพตำบลสาบัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

 

14.55
2 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

 

4.55
3 ร้อยละประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดัน อายุ 15-59 ปี ในเขตรับผิดชอบ ต.สาบัน

 

18.91

โรคเบาหวานและความดันโหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด ขาดออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา สูบบุหรี ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจตัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้น คือ 30 ปี ขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระบุว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงและโรคที่ถูกวินิฉัยจะมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น พิการทางร่างกาย Stroke โรคหัวใจ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และการสูญเสียรายได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน
จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ 15-59 ปี ในเขตรับผิดชอบ ตำบลสาบัน อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 1,135 ปี ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 740 รายตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 26 ราย ความดันโหิต จำนวน 114 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.91 ต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด จะเห็นสัดส่วนกลุ่มโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สูงมากของประชากร 15-59 ปี ของตำบลสาบัน
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และกลุ่มผูป่วย มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขถภาพตำบล จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มผู้ป่วย ตำบลสาบัน อำเภอยะหริ่ง ปี 2567 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และลดการเกิดโรคในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมการรับประทานอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดี

14.55 80.00
2 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รับประทานยาลดลง และรักษาได้ถูกวิธี

4.55 50.00
3 ร้อยละประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดัน อายุ 15-59 ปี ในเขตรับผิดชอบ ต.สาบัน

แกนนำเครือข่ายในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยรายใหม่

18.91 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 36

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม"ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผูป่วยในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2567

ชื่อกิจกรรม
อบรม"ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผูป่วยในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน จำนวน 86 คน
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 86 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,300 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 86 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,300 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดัน และกลุ่มผู้ป่วย มีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำเครือข่ายชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวาน/ความดันโลหิติสูง กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
2.แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
4.อัตราการตรวจพบโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของประชาชน อายุ 15 ปี ขึ้นไปลดลง และอัตราป่วยของโรคในกลุ่มผู้ป่วยลดลง


>