กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีด้วยการงดเหล้าเข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

กลุ่มประชาชน หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด

1.นายสวัสดิรักษ์ โรจนกุล
2.นางวันเพ็ญ พรรณศรี
3.นางญาณิศา นพคุณ
4.นางนงลักษณ์ โรจนกุล
5.นางสาวรัญชิดา ยอดสร้อย

หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและการเกษตร พบว่า คนไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับ 13.59 ลิตรต่อคนต่อปี จัดเป็นอันดับ 5 ของโลกและมีการใช้เงินประมาณ 2 แสนล้านบาท เพื่อซื้อแอลกอฮอล์มาดื่มกิน ซึ่งพฤติกรรมการดื่มดังกล่าวส่งผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านสุขภาพ อุบัติเหตุจราจร คดีอาญา และด้านเศรษฐกิจครอบครัวและชุมชน นับเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับของสังคมไทยในปัจจุบัน ในการผลักดันโครงการและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ ลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่มประเภทนี้มีความรุนแรงและส่งผลกระทบในทุกมิติของสังคม สร้างความทุกข์รุกรานความอยู่ดีมีสุขของผู้คนตลอดมา กลุ่มประชาชนหมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด ตำบลดอนรัก เล็งเห็นถึงความสำคัญของโทษและผลกระทบต่อชุมชนและสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงได้ร่วมกันจัดโครงการสุขภาพดี ด้วยการงดเหล้า เข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการลด ละ เลิกอบายมุข

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลด ละ เลิกอบายมุข

90.00
2 เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น และชุมชนเข้มแข็ง

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดำรงไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น และชุมชนเข้มแข็ง

90.00
3 เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดงานต่างๆ

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดงาน เช่น งานอุปสมบท งานบุญกฐิน งานศพ

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมการจัดโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมการจัดโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการ ลด ละ เลิก เหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอบายมุข

1.2 ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รายละเอียดการจัดทำโครงการและเตรียมการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ พิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะการปฏิเสธ ภายใต้ชื่อโครงการสุขภาพดี ด้วยการงดเหล้าเข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ พิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะการปฏิเสธ ภายใต้ชื่อโครงการสุขภาพดี ด้วยการงดเหล้าเข้าพรรษา ประจำปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 รณรงค์ และดำเนินกิจกรรมชุมชนต้นแบบ ด้านปลอดเหล้า ปลอดเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ และปลอดอบายมุข ในงานประเพณีที่สำคัญของชุมชน ได้แก่ งานศพ งานอุปสมบท และงานบุญกฐิน สรุปผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรม และ ขยายผลการดำเนินงาน

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  • จัดทำป้ายไวนิลสำหรับโครงการ ฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750.-บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ฯ จำนวน 70 คน X 25.-บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500.-บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ฯ จำนวน 70 คน X 50.-บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน X 6 ชั่วโมง X 600.-บาท เป็นเงิน 7,200.-บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,950.-บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานที่ไม่จำเป็นลงได้
2. ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางการจราจร
3. ลดเหตุทะเลาะวิวาท
4. เป็นการกระต้นให้ชุมชนได้ตระหนักถึงโทษการดื่มเหล้าหรือของมึนเมาอย่างอื่น


>