กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รวมวัยร่วมสร้างชุมชนโคกดีปลี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

สภาเยาวชน หมู่ 3 บ้านโคกดีปลี

1. นางสาวศรุดา เกิดพระ (ประธานกลุ่ม 094-6544058)
2. นางสาวเพชรรัตน์ ธรรมสโร(รองกลุ่มคนที่ 1)
3. นางสาวพิมพา เรืองเขตพิษ(รองกลุ่มคนที่ 2)
4. นางสาวเยาวดี มณี
5. นายสุชาติ ธรรมสโร
6. นางสาวญาณิศา เพชรมณี
7. เด็กชายศักดิ์ดาวุฒิ จิตติ์ดำหริ

หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก เยาวชน และบุคคลในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด ติดมือถือ ติดเกมส์ และลักเล็กขโมยน้อย

 

13.00
2 ร้อยละเด็ก เยาวชน และบุคคลในชุมชน ที่ไม่ค่อยมีเวลาทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ

 

50.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำเสีย สุขลักษณะที่ดีรอบบริเวณบ้าน

 

66.00

จากสถานการณ์ปัญหา เด็ก เยาวชน และบุคคลในชุมชน มีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด ติดมือถือ ติดเกมส์ และมีการลักเล็กขโมยน้อย เนื่องจากการติดยาเสพติด ไม่มีมีเวลาทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ครัวเรือนส่วนใหญ๋มีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำเสีย สภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ด้วยพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมขังทุกปีในช่วงหน้าฝน สภาเยาวชน หมู่ 3 บ้านโคกดีปลี เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่มีกิจกรรมหลายๆกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเยาวชน และประชาชนในทุกกลุ่มอายุ ที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน เช่น เก็บขยะ 2 ข้างทาง การปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ จิตอาสาทำความสะอาดเพื่อให้ชุมชนน่าอยู่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวขยับกายหรือการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ให้
1. ทุกกลุ่มวัยมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
2. ชุมชนมีความสามัคคีเป็นหนึ่ง
3. เพื่อปลูกจิตสำนักที่ดีแก่เยาวชนในพื้นที่ให้มีความรักตนเอง รักคนรอบข้าง รักชุมชนบ้านเกิดของตัวเอง
จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของสภาเยาวชน พบว่าเยาวชนในพื้นทีแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือรุ่นพี่ กับรุ่นน้อง รุ่นพี่ส่วนหนึ่งมีเรื่องของยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง รุ่นน้องใหม่ๆมีเรื่องของการติดเกมส์ ติดโทรศัพท์ ทางสภาเยาวชนได้พยายามให้มีการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกันทำกิจกรรม มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เยาวชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมจะทำให้เยาวชนมีความสนใจไม่มั่วสุมยาเสพติด
ทางสภาฯมองเห็นว่าการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การดูแลสิ่งแวดล้อมเรื่องของความสะอาด ขยะมูลฝอยที่ตกค้างในชุมชน การเคลื่อนไหวขยับกาย หรือจัดกิจกรรมในรูปแบบจิตอาสาต่างๆ โดยการบูรณาการร่วมกับกิจกรรมอื่นๆในพื้นที่ กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นจะเป็นสิ่งที่ดีในการปลูกฝังเยาวชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการ รวมวัยร่วมสร้างชุมชนโคกดีปลี 67 เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ เด็ก เยาวชนและคนในชุมชน ที่จะเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด เด็กติดเกมส์ ลักขโมย ในพื้นที่

ร้อยละ80 ของ เด็ก เยาวชน และคนชุมชน ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ

85.00 68.00
2 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน ได้มีการร่วมกลุ่มทำกิจกรรมในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างหรือบุคคลในครอบครัว

ร้อยละ90 ของเด็ก เยาวชนและคนในชุมชนได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างหรือบุคคลในครอบครัว

85.00 77.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมกลุ่ม เครือข่ายสร้างสุขภาพ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน เพื่อขับเคลื่อนโครงการชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานในกิจกรรมตามโครงการรวมวัยร่วมสร้างชุมชนโคกดีปลี 67 เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ เก็บขยะมารีไซเคิล การมาทำกิจกรรมยามเย็นที่ลานกีฬา การนำเด็ก เยาวชน มาสวดมนต์ที่วัด จิตอาสาต่างๆเป็นต้น
  2. ประชุมวางแผน การจัดทำโครงการในแต่ละกิจกรรม งบประมาณ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 80 คน เป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการจัดประชุมและชุมชนมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
  2. สร้างเครือข่าย มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  3. สร้างการรับรู้ ความเข้าใจกันในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 2 เคลื่อนขยับสร้างสุขภาพ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี

ชื่อกิจกรรม
เคลื่อนขยับสร้างสุขภาพ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมให้เยาวชน หรือกลุ่มเป้าหมายได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. กิจกรรมปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างลักษณะนิสัยที่ดีอีกด้วย โดยการปลูกพืชพักสวนครัวชวนเด็กๆ เยาวชนหันมาปลูกผักสวนครัว นอกจากจะเป็นการประหยัดเงินจากการซื้อพืชผักต่างๆ แล้วยังจะได้รับประทานผักสวนครัวที่สะอาด ปลอดภัย ไม่ปนเปื้อนสารพิษ และทำให้เยาวชนได้ฝึกทักษะทั้งด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และปรับทัศคติ ชอบและอยากจะทานผักที่ปลูกเองอีกด้วย จะได้นำไปใช้เพื่อชักชวนและสอนให้เยาวชนมาใช้เวลาว่างหันมาปลูกผักกัน
2. กิจกรรมการออกกำลังกายกับกีฬาประเภทต่างๆ ที่นิยมกันในพื้นที่หรือการละเล่นพื้นบ้านโดยเคลื่อนขยับ เคลื่อนไหวทางกาย ใช้กล้ามเนื้อโครงสร้าง และทำให้มีการใช้พลังงานของร่างกายมากกว่าในขณะพักสิ่งที่ต้อง 3. กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิลคือการส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยโดยเริ่มต้นที่บ้านของเด็ก เยาวชนและคนในชุมชน
งบประมาณ - ค่าวัสดุที่ต้องจัดซื้อ เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ดินปลูก ถุงเพาะปลูก บัวรดน้ำ กระถางปลูก ถุงมือ เครื่องมือเช่น จอบ เสียม และอื่นๆ จำนวน 5,000 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ลูกฟุตบอล ตระกร้อ ไม้แบตมินตัน ชุดบอล ตาข่ายประตู ป้ายไวนิล และอื่น5,000 บาท (ทั้ง 3 กิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีกิจกรรมในการเคลื่อนขยับอย่างต่อเนื่อง
  2. เยาวชนมีทักษะชีวิต มีความรู้ความสามารถ ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
  3. เยาวชนหรือกลุ่มเป้าหมายได้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและพัฒนาทักษะด้านกีฬาต่างๆตามความสามารถ พัฒนาต่อยอดในลำดับต่อไป
  4. มีกิจกรรมธนาคารขยะโดยเยาวชนมีส่วนร่วม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 ชวนคิดชวนคุย ปฏิบัติธรรมพาสุข

ชื่อกิจกรรม
ชวนคิดชวนคุย ปฏิบัติธรรมพาสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การพูดคุยกับเด็กในแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ซึ่งในวัยเด็ก เยาวชน เป็นช่วงวัยที่ว้าวุ่นและวุ่นวาย ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ร่างกาย และฮอร์โมน ในช่วงวัยนี้อาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะพูดคุยกับเด็ก เยาวชน และใช้หลักจิตวิทยาในการคุยกับเด็ก เยาวชน เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้สามารถพัฒนาก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี ปรึกษา ปัญหาต่างๆ รับฟัง ให้คำปรึกษา อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
  2. ให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนเป็นคนดี มีศีลมีธรรมคุ้มครอง ซึ่งก็คือต้องการส่งเสริมให้เป็นคนที่มีคุณธรรมนั่นเอง การไปปฏิบัติธรรมเพื่อจะได้ทำความดี ละเว้นความชั่ว รู้จักเกรงกลัวและละอายที่จะทำบาป แยกแยะความดีความชั่วได้ ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้จิตใจของเด็ก เยาวชนสงบ มีสมาธิก่อนที่จะกระทำสิ่งต่างๆ โดยจะมีการนั่งสมาธิ สวดมนต์ทุกวันพระ
    งบประมาณ
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 30 คน เป็นเงิน 1,050 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60 บาท x 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
      รวมเป้นเงิน 2,850 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก เยาวชน ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อสุขภาพ ของตนเอง และคนรอบข้าง
2. เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน มีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โทรศัพท์มือถือ (ติดเกมส์) สามารถปฎิบัติตนให้ถูกแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ในชุมชนที่อยู่อาศัย
3. เด็ก เยาวชน ตระหนักในกิจกรรมจิตอาสา
4. เด็ก เยาวชน เป็นกำลังหลักของหมุ่บ้านในทุกเรื่อง
5. เด็ก เยาวชนมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และในชุมชน


>