กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

1. นางสำลี ลัคนาวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
2. ว่าที่ ร.ต.สุกล พรหมรักษ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
3.นางเก็จชณัช หลงสมัน หัวหน้าสำนักปลัด
4. ส.อ.อนุสรณ์ แก้วดำ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ประสานงานคนที่ 1 เบอร์โทร 086-9671442
5. นายนพดล หมาดหวัง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ประสานงานคนที่ 2 เบอร์โทร 066-0813997

องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง สระว่ายน้ำเอกชนในพื้นที่อำเภอละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เมื่อ 3 มีนาคม 2566 กรมควบคุมโรค เผยสถิติเด็กจมน้ำเสียชีวิตช่วงฤดูร้อนและเป็นเด็กปิดเทอม เด็กๆ อาจชวนกันไปเล่นนำตามลำพัง โดยการขาดการดูแลจากผู้ปกครอง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้ ข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2565) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม) จำนวน 953 ราย เฉลี่ยวันละ 2 ราย เดือนเมษายน พบเหตุการณ์จมน้ำมากที่สุด 65 ราย รองลงมาคือ เดือนมีนาคม 64 ราย และเดือนพฤษภาคม 63 ราย โดยมีจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิ่ตมากกว่า 10 ราย ถึง 40 จังหวัด เสียชีวิต 6-10 ราย มี 19 จังหวัด เสียชีวิต 2-5 ราย มี 16 จังหวัด และมีเพียง 2 จังหวัดที่เสียชีวิตน้อยกว่า 2 ราย ได้แก่ จังหวัดระนอง และลำพูน แหล่งน้ำที่พบว่าเด็กจมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ร้อยละ 76.5) เขื่อนอ่างเก็บน้ำ/ฝาย (11.1) ทะเล (5.3) ภาชนะภายในบ้าน (3.5) และสระว่ายน้ำ/สวนน้ำ (1.8) โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเล่นน้ำมากที่สุด (ร้อยละ59.4) รองลงมาคือ พลัดตกลื่น (21.5) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ขาดการดูแลจากผู้ปกครอง และขาดความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยง ทั้งนี้ 10 จังหวัดแรกที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อน ปี 2561 ถึง 2565 ได้แก่ บุรีรัมย์ (45 ราย) อุดรธานี (38 ราย) นครราชสีมา (37 ราย) สุรินทร์ (30 ราย) ร้อยเอ็ด (28 ราย) สกลนคร (28 ราย) นครสวรรค์ (26 ราย) ขอนแก่น (25 ราย) นครศรีธรรมราช (25 ราย) และปัตตานี (24 ราย) โดย 7 ใน 10 จังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด คือเด็กอายุ 5-9 ปี (ร้อยละ 42.1) รองลงมาคือ อายุ 0-4 ปี (31.5) และอาย 10-14 ปี (26.4) เพศชายจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.2 เท่าตัว
จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในเขตพื้นที่อำเภอละงู มีเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิต ประมาณ 5 ราย/ปี เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน จากการจมน้ำ หากเด็กตระหนักรู้ถึงอันตรายของการเล่นน้ำ และการช่วยเหลือตนเองหรือช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง นอกจากนี้ควรมีผู้ปกครองที่สามารถช่วยเหลือเด็กที่เกิดอุบัติเหตุจากูการเล่นน้ำ และนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันถ่วงที ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายจากการจมน้ำได้
ดังนั้นสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง โดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการว่ายน้ำและเอาชีวิตรอดในน้ำ ทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีองค์ความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ และมีพื้นฐานในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือคนจมน้ำ สามารถ
ให้การช่วยเหลื้อปฐมพยาบาลเบื้องตันได้ และมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ของตนเองได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อให้เด็กในพื้นที่มีความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ และมีพื้นฐานในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด

ร้อยละ 100 เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะการฝึกหัดว่ายน้ำ การเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำเพิ่มขึ้น

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม ชี้แจง จัดตั้งคณะทำงานของโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุม ชี้แจง จัดตั้งคณะทำงานของโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 ครั้ง

1.2 ประชุมชี้แจ้งรายละเอียดการดำเนินงานต่อผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย

  • เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน
  • ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น จำนวน 5 คน

งบประมาณ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้คณะทำงานของโครงการ และทุกคนได้ทราบหน้าที่การปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 รับสมัครแกนนำหรือเด็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครแกนนำหรือเด็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนในชุมชน ในหมู่บ้าน อายุ ระหว่าง 8 - 15 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 30 คน

  • ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้าน พร้อมคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  • ประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลออนไลน์

กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 30 คน

งบประมาณ - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จำนวนเด็กที่ เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ อบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ

ชื่อกิจกรรม
ชั่วโมงการเรียนรู้ อบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม อบรมหลักสูตรการว่ายน้ำ

กิจกรรที่ 3.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 2 ชั่วโมง)

  • การเรียนรุ้กับแหล่งน้ำเสี่ยง

  • การเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแหล่งน้ำ

  • การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ

กิจกรรที่ 3.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 2 ชั่วโมง)

  • การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ

  • การร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่

  • การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำโดยการโยนอุปกรณ์

  • การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำโดยการยื่นอุปกรณ์

กิจกรรที่ 3.3 อบรมการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 1 ชั่วโมง)

  • การปฐมพยาบาลคนจมน้ำ

  • การฟื้นคืนชีพ

กิจกรรที่ 3.4 ให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด ชั่วโมงเรียนรู้ ( จำนวน 1 ชั่วโมง)

  • การหายใจในการว่ายน้ำ การควบคุมลมหายใจ และการเก็บลมหายใจ

กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กอายุ 8- 15 ปี จำนวน 30 คน

  • เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ จำนวน 5 คน

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากรชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวน 6 ชั่วโมง) (600 บาท x 1 คน x 6 ชม.) เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม ตลอดจนเจ้าหน้าที่โครงการจำนวน 1 มื้อๆละ 65 บาท จำนวน 35 คน เป็นเงิน 2,275 บาท

  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าฝึกอบรม ตลอดจนเจ้าหน้าที่โครงการจำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 35 คน จำนวน 1,750 บาท

  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด (1.2x2.4) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชั่วโมงการเรียนรู้ เช่น แฟ้ม ปากกา สมุด จำนวน 30 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

เป็นเงิน 9,557 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9557.00

กิจกรรมที่ 4 ชั่วโมงการปฎิบัติ ฝึกอบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ

ชื่อกิจกรรม
ชั่วโมงการปฎิบัติ ฝึกอบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม อบรมหลักสูตรการว่ายน้ำ (ปฎิบัติ)

กิจกรรที่ 4 ให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด

การลอยตัว การว่ายน้ำเอาชีวิตรอดและ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ (จำนวน 30 ชั่วโมง) แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มๆละ 15 คน ใช้เวลา 3 ชม./วัน จำนวน 5 วัน โดยแบ่งเด็กเป็นกลุ่มภาคเช้า และกลุ่มภาคบ่าย

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 1 เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยในน้ำ การทรงตัวในน้ำ ฝึกการดำน้ำ (ดำน้ำ เป่าลม) การกลั้นหายใจใต้น้ำ การลืมตาใต้น้ำ ฝึกการหายใจ การลอยตัว แบบนอนคว่ำ

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 2 เรื่อง ฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ ฝึกการหายใจ ฝึกการลอยตัวท่าต่างๆ รวมถึงการลอยตัวแบบนอนหงาย และการใช้อุปกรณ์ช่วยในการ ลอยตัว รวมถึงรู้วิธีเรียกให้ผู้อื่นมาช่วยผู้ประสบภัย

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 3 เรื่องฝึกเตะเท้าคว่ำ ฝึกเตะเท้าหงาย ฝึกการลอยตัว ฝึกการกระโดดน้ำจากขอบสระด้านน้ำลึก และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 4 เรื่องฝึกเตะเท้าคว่ำ ฝึกเตะเท้าหงาย ฝึกการลอยตัว ฝึกการยืน ทรงตัวจากท่าเตะเท้าคว่ำและเตะเท้าหงาย และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 5 เรื่อง ฝึกการเตะเท้าให้ได้ระยะทาง 5 เมตรแล้วพลิกตัว ฝึกการ กระโดดจากขอบสระด้านน้ำลึกแล้ว ฝึกการลอยตัวให้ได้นาน 10 วินาที และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 6 เรื่อง ฝึกการเตะเท้าเท้าคว่ำแล้วพลิกตัวหงาย ฝึกการเตะเท้าหงาย ใช้แขนผลักน้ำข้าง ๆ ลำตัวแล้วพลิกตัวโดยเคลื่อนที่ให้ได้ระยะทางอย่างละ 10 เมตร ฝึกการลอยตัวท่าต่างๆให้ได้นาน 20 วินาที และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจาก ชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 7 เรื่อง ชั่วโมงแรกของการฝึกลอยตัวแบบนอนคว่ำแล้วเงยหน้าหายใจ การลอยตัวในท่าต่างๆ ปฏิบัติให้ได้ 30 วินาที และเป็นชั่วโมงแรกของการฝึกช่วย ผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 8 เรื่อง การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปาก เพิ่มการปฏิบัติเป็น 15 ครั้งพร้อมเคลื่อนที่ การลอยตัวในท่าต่างๆให้ปฏิบัติ 30 วินาทีเช่นเดียวกับชั่วโมงที่แล้ว การฝึกเตะเท้าคว่ำ การฝึกเตะเท้าหงาย เพิ่มการปฏิบัติเป็น 15 เมตร โดยการฝึก เตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ ชั่วโมงแรกของ การฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการนอนราบลงกับพื้นยื่นแผ่นโฟม (Kickboard) และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 9 เรื่อง การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปากให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 20 ครั้ง แล้วเคลื่อนที่ด้วยการลอยตัวในท่าต่างๆ ให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 40 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 1 นาที การฝึกเตะเท้าคว่ำให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย และการเตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ การฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการนอน ราบลงกับพื้น ยื่นแผ่นโฟม (Kickboard) ในชั่วโมงนี้ให้ปฏิบัติโดยให้ยื่นแผ่นโฟมห่าง จากขอบสระ 1 ช่วงแขน และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 10 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปาก ปฏิบัติ 20 ครั้ง แล้วเคลื่อนที่ไปด้วยในน้ำลึก การลอยตัวในท่าต่างๆให้ปฏิบัติ 40 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่ม ลอยตัวปฏิบัติ 1 นาที การลอยตัวแบบนอนคว่ำ เงยหน้าหายใจ 5 ครั้ง การฝึกเตะเท้าคว่ำให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย และการเตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ และเป็นชั่วโมงแรก ของการฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นท่อ PVC และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 11 เรื่อง การฝึกการดำน้ำการกลั้นหายใจใต้น้า แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา การฝึกการหายใจเข้า และออกทางปาก ปฏิบัติ 20 ครั้งแล้วเคลื่อนที่ไปด้วยในน้ำลึก การลอยตัวในท่าต่างๆให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 50 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวเพิ่มการปฏิบัติเป็น 2 นาที การเคลื่อนที่ในน้ำฝึกทักษะใหม่คือ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย(คว่ำ)แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ(หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร ในชั่วโมงนี้ให้ฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการย่อ ตัวให้ต่ำ ยื่นท่อ PVC ห่างจากขอบสระ 2 เมตร และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจาก ชั่วโมงที่ผ่านมาจุดประสงค์การเรียนรู้

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 12 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา เพิ่มระยะทางเป็น 2 เมตร การลอยตัวท่านอนหงาย การกระโดดจากขอบสระด้านน้ำลึกแล้วลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เพิ่มการปฏิบัติเป็น 1 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวเพิ่มการปฏิบัติเป็น 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ)แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ (หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เตะเท้าคว่ำ (หงาย) กลับ ปฏิบัติ 5 เมตร การฝึกเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งที่ขอบสระ และการเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ในน้ำตื้น ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 13 เรื่อง การฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา ปฏิบัติ 2 เมตร การลอยตัวท่านอนหงายเพิ่มการปฏิบัติเป็น 2 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ (หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร การลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เตะเท้าคว่ำ (หงาย) กลับ ปฏิบัติ 5 เมตร การฝึกเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ เพิ่มการปฏิบัติเป็น 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การว่ายท่าวัดวา โดยการเตะเท้าคว่ำ หมุนแขนลงน้ำสลับกัน เงยหน้าหายใจ ปฏิบัติ 5 เมตร การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งยองๆที่ขอบสระ และการเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ในน้ำลึก ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 14 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ การหายใจเข้า ออกทางปาก พร้อมการเคลื่อนที่ยังคงฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง การลอยตัวท่านอนหงายเพิ่มการปฏิบัติเป็น 3 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ(หงาย) ปฏิบัติ 25 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) ปฏิบัติ 25 เมตรโดยให้หายใจด้วยท่าลูกหมาตกน้ำระหว่างเตะเท้าคว่ำ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 5 เมตรแล้วเลี้ยวกลับ ระยะทาง 5 เมตร การเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ ปฏิบัติ 5 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงายระยะทาง 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การายท่าวัดวา โดยการเตะเท้าคว่ำ หมุนแขนลงน้ำสลับกัน เงยหน้าหายใจ ปฏิบัติ 10 เมตร การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งคุกเข่าที่ขอบสระ การเคลื่อนที่ในน้ำลึกไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำ ระยะทาง 3 เมตร ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

  • ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 15 เรื่อง การฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ การหายใจเข้า ออกทางปาก พร้อมการเคลื่อนที่ยังคงฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง การลอยตัวท่านอนหงายปฏิบัติ และการเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติท่าละ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 25
    เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) ปฏิบัติ 25 เมตรโดยให้หายใจด้วยท่าลูกหมาตกน้ำระหว่างเตะเท้าคว่ำ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 5 เมตรแล้วเลี้ยวกลับ ระยะทาง 5 เมตร การเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ ปฏิบัติ 5 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย ระยะทาง 5 เมตร การว่ายท่าวัดวา พร้อมหายใจขณะว่ายน้ำ ให้ปฏิบัติ 15 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่ายืนที่ขอบสระ กระโดดน้ำด้านน้ำลึก ลอยตัว 1 นาที แล้วว่ายไปเกาะอุปกรณ์ลอยน้ำพยุงตัว เตะเท้าระยะทาง 3 เมตรแล้วเคลื่อนที่เข้าฝั่ง การโยนอุปกรณ์ช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำห่างจากขอบสระ 3 เมตร และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กอายุ 8- 15 ปี จำนวน 30 คน

  • ทีมวิทยกร จำนวน 4 คน

  • เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ จำนวน 5 คน

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากรชั่วโมงปฎิบัติ (จำนวน 30 ชั่วโมง)(400 บาท x 4 คน x 30 ชม.) เป็นเงิน 48,000 บาท

  • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆ ละ 5 วันๆละ 200 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

  • ค่าเช่าสระน้ำจำนวน 5 วันๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท

  • ค่าวัสดุในการ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ เช่น บรอด์โฟม สำหรับฝึกว่ายน้ำเด็ก ทรงตัวยู ฯลฯเป็นเงิน 6,000 บาท

เป็นเงิน 79,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ไม่มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ 2.แหล่งน้ำในพื้นที่มีป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
79000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้จุดเสี่ยงอันตรายในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้จุดเสี่ยงอันตรายในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 สำรวจ ปรับปรุง แหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน 15 จุด

  • ติดตั้งป้ายเตือนการป้องกันการจมน้ำการแก้ไขสถานการณ์เมื่อเจอคนจมน้ำการขอความช่วยเหลือ

  • จัดสปอตร์ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย

เป้าหมาย

  • จุดเสี่ยงในเขตพื้นที่ อบต.กำแพง.

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำป้ายเตือน/ป้ายประชาสัมพันธ์แหล่งน้ำอันตรายในเขตพื้นที่ ตำบลกำแพง พร้อมโครงการป้ายพร้อมติดตั้ง ขนาด (1.2x2.4) จำนวน 15 ป้ายๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 37,500 บาท

  • ค่าอัดสปอตร์ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จำนวน 1 รายการ เป็นเงิน 3,000 บาท

รวมเป็นเงิน 40,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการรับรู้จุดเสี่ยงในเขตพื้นที่ อบต.กำแพง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40500.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมถอดบทเรียน จากการดำเนินโครงการดังกล่าว

6.1 ประชุมระดมความคิด จากกิจกรรม ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้จัด

6.2 จัดตั้งกลุ่มแกนนำจากกิจกรรม เพื่อนำร่องกลุ่มว่ายน้ำเป็นในเขตพื้นที่ อบต.กำแพง ลดอัตราการเกิดการจมในเขตพื้นที่และอื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน

  • ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น จำนวน 5 คน

  • เจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 5 คน

งบประมาน

  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วม จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน จำนวน 1,000 บาท

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในกิจกรรมถอดบทเรียน เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

7.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

7.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มเมื่องานเสร็จสิ้นจำนวน 4 เล่มๆละ 250 เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 สิงหาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 132,807.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ไม่มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
2.แหล่งน้ำในพื้นที่มีป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัย


>