กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่

นางชนัญชิดาทองขุนดำ
นางวรรณาเขียวแก้ว
น.ส.ชลธิชาศิริชุม
น.ส.กรรณิการ์หีมเขียว

ม.1ม.2 และ ม.9 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

32.65
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

28.30

โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำคัญที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นปัญหาทางสาธารณสุข สำหรับประเทศไทยพบแนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ประมาณการของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีผู้ป่วยเบาหวาน 1.3 ล้านคน และมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงถึง 2.7 ล้านคน จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง ทำให้การทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด ตา ไตและเส้นประสาทบกพร่อง และอาจเกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร(กองโรคไม่ติดต่อ,2562)
จากการศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูล HDC (Health Data Center) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการป่วยตายโรค NCDs มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ได้แก่ อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และ อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงปี พ.ศ.2562 โดยอัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูง พบว่า กลุ่มช่วงอายุวัยทำงาน คือ กลุ่มอายุ 15 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 – 59 ปี มีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุ (สำนักส่งเสริมสุขภาพ, 2562)ส่วนจังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ พ.ศ.2566มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวนทั้งหมด 65,436 คน โดยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 27.02 เมื่อศึกษาข้อมูลของอำเภอตะโหมด พบว่า มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวนทั้งหมด 3,384 คน โดยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 34.10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวนทั้งหมด 146 คน โดยควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ดี ร้อยละ 40.41 ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พบว่ามีจำนวน 37 คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำ “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง” ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตสูง และลดการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ทีอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

128.00 70.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน

กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองได้

128.00 45.00
3 เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง

45.00 40.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

92.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/04/2024

กำหนดเสร็จ 16/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการแก่ทีมสุขภาพ รพ.สต.บ้านคลองใหญ่

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2567 ถึง 7 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรม/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ การบริโภคที่ถูกต้องพร้อมติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 45 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน2,250 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 45 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ70 บาทเป็นเงิน3,150 บาท 3. ค่าวิทยากรวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่าเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน นัดกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเจาะเลือดซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน นัดกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเจาะเลือดซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน  หลังให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในเวลา 3 เดือน งบประมาณ
ค่าเครื่องตรวจวัดความดันโลหิต  จำนวน 4 เครื่อง เครื่องละ 2,620 บาท  เป็นเงิน 10,480 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามวัดความดัน และ เจาะเลือดตรวจค่าน้ำตาลในเลือดซ้ำทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10480.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุม

ชื่อกิจกรรม
ประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อคืนข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมถอดบทเรียนกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองได้ งบประมาณ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 45 คนๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 เป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 10 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับคืนข้อมูลของตนเอง หลังจากได้ปรับเปลียนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,005.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองได้
2. กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์ปกติได้
3. อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน รายใหม่ลดลง


>