กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ และเสริมสร้างสุขภาพที่ดีโรงเรียนบ้านไสใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านไสใหญ่

1. นางสาวสุขศิริ ไตรสกุล ผู้ประสานงานคนที่ 1 โทรศัพท์ 081-1892819
2. นางสาวจิรารักษ์ แก้วกุก ผู้ปรัสานคนที่ 2 โทรศัพท์ 061-2646725
3. นางกมล หวันตาหลา
4. นายประวิทย์ จิตหลัง
5. นางสาวเบญจมาศ สาจิ

โรงเรียนบ้านไสใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเด็กอ้วนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยพฤติกรรมสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พบว่า ในปีพ.ศ. 2559-2563 มีเด็กอ้วนเพิ่มขึ้นปีละ 4 ล้านคนสอดคล้องกับสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กไทยในฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560-2564 พบเด็กอ้วนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเด็กสูงสมส่วน ยังต่ำกว่าค่าเป้าหมายและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และเด็กเตี้ยสูงกว่าค่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นภัยคุกคามภาวะสุขภาพอนามัยของเด็กไทย ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กในวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโรคอาหารประเภทอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรรูป เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกฝ่ายควรใส่ใจและแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันอย่าง จริงจัง จากการสํารวจข้อมูลสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทยพบว่าเด็กไทยทุก ๆ 5 คน ที่เป็นโรคอ้วน กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหืดหอบ โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น โรงเรียนบ้านไสใหญ่ ได้ให้ความตระหนักและใส่ใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและบริเวณชุมชนรอบข้าง ทั้งในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งการมีสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลที่ดีกับนักเรียน และโรงเรียนได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนมาตลอด ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไข ป้องกัน ให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการที่สมวัย แม้ว่าที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่แก้ไขเกี่ยวกับภาวะโภชนาการนักเรียนมาแล้ว แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไป โดยมีข้อมูลในปี 2566 มีนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการคิดเป็นร้อยละ 25 จากนักเรียนจำนวน 144 คน โดยมีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 15.28 และมีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 9.7 จึงจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีนักเรียนที่อ้วน ผอมอยู่ เด็กกลุ่มนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และความมีวินัยในการบริโภคอาหาร และเลือกกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดการออกกำลังกายและมีสภาวะทางอารมณ์ที่ยังไม่เอื้อต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ซึ่งหลัก 3อ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ลดน้อยลงหรือหมดไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน และเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านไสใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการ "ส่งเสริมภาวะโภชนาการ และเสริมสร้างสุขภาพที่ดี"ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน เพื่อให้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่ลดลงและหมดไปในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมและแก้ไขให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  1. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  2. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  3. นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
24.98 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 118
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ งบประมาณและกิจกรรม ปรึกษาหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการ

2.ประชุมครั้งที่ 2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไข

3.ประชุมครั้งที่ 3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

เป้าหมาย

•คณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน จำนวน 13 คน

งบประมาณ

•ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 13 คนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 975 บาท

•ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ 3 ครั้งๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

รวมเป็นเงิน 2,475 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน มีการวางแผนการดำเนินโครงการและสรุปการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2475.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2.1. คัดเลือก อสม.น้อยในโรงเรียนจำนวน 10 คน โดยคณะกรรมการ

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 10 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

กิจกรรมที่ 2.2. สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้

กำหนดการอบรม เรื่อง บทบาทหน้าที่อสม.น้อยในโรงเรียน วันที่ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2567

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม เรื่อง บทบาทหน้าที่ อสม. น้อย ในโรงเรียน

09.00 - 10.20 น. วิทยากรบรรยาย เรื่อง บทบาทหน้าที่ อสม. น้อยในโรงเรียน

10.20 - 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 - 12.10 น. วิทยากรบรรยาย รื่องบทบาทหน้าที่ อสม. น้อยในโรงเรียน (ต่อ)

12.10 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน อสม. จำนวน 10 คน

งบประมาณ

• ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

• ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 15 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท

• ค่าวัสดุการอบรม เช่นกระเป๋า แฟ้ม สมุด ปากกา เป็นเงิน 1,500 บาท

รวมเป็นเงิน 3,675 บาท

กิจกรรมที่ 2.3 แกนนำ อสม.น้อยร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผล เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน ที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 36 คน

งบประมาณ

  • ค่าเอกสารบันทึกการติดตามภาวะโภชนาการ จำนวน 36 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล ชั่งน้ำหนักสูงสุดไม่ต่ำกว่า 150 กิโลกรัม ความละเอียด 100 กรัม (Weight capacity) วัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body Fat Percentage) วัดเปอร์เซ็นต์รวมของน้ำในร่างกาย (Total Body Water) วัดระดับไขมันที่เกาะตามบริเวณอวัยวะภายในช่องท้อง (Visceral Fat) วัดมวลกระดูก (Bone Mass) วัดมวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass) บอกระดับคุณภาพของกล้ามเนื้อ (Muscle Quality) บอกอัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐานและอายุเทียบ (BMR & Metabolic Age) บอกสัดส่วนกล้ามเนื้อและไขมัน (Physical Rating) บอกค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) บันทึกข้อมูลส่วนตัวได้ 4 คน เครื่องละ 7,000 บาท จำนวน 1 เครื่อง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท

รวมเป็นเงิน 8,440 บาท

กิจกรรมที่ 2.4 แกนนำ อสม.น้อย รายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบ พร้อมทั้งลงเยี่ยมบ้านนักเรียนและแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ

กิจกรรมที่ 2.5 โรงเรียนขอความร่วมมือจากร้านค้า สหกรณ์ จำหน่ายอาหารคุณภาพให้กับนักเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน ที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 36 คน
    ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12115.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยหลัก 3 อ (อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ ) ให้กับนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยหลัก 3 อ (อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ ) ให้กับนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ (ลดอาหารหวาน มัน เค็ม)

  • อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • ดูแล ควบคุมการรับประทานอาหารกลางวันนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์โดยเพิ่มและลดปริมาณอาหารตามกลุ่มที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

เป้าหมาย จำนวน 82 คน

  • นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 22 คน

  • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 14 คน

  • ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์จำนวน 36 คน

  • แกนนำ อสม.น้อย จำนวน 10 คน

งบประมาณ

• ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 87 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,350 บาท

• ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 41 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 2,665 บาท

• ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

• ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 675 บาท

• ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน 12,690 บาท

กำหนดการอบรม เรื่อง ภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน

วันที่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2567

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรมเรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน

09.00-10.20 น. วิทยากรบรรยาย เรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน

10.20-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.30-12.10 น. วิทยากรบรรยายเรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน(ต่อ)

12.10 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00 น.วิทยากรบรรยายเรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน

14.00-14.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง

14.30-15.30 น.วิทยากรบรรยายเรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

15.30-15.50 น.การรับมอบเกียรติบัตรจบการอบรม

3.2. สร้างแกนนำนักเรียน เพื่อเป็นแกนนำในการออกกำลังกาย และทำกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  • ให้นักเรียนทุกคนออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมทางกายตามกลุ่มที่สนใจ6กลุ่มในช่วงเวลาลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ก่อนเลิกเรียนทุกวันโดยเน้นกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาน้ำหนักเกินเกณฑ์

เป้าหมาย จำนวน 144 คน

  • นักเรียนทั่วไปจำนวน 120คน

  • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 14 คน

  • แกนนำ อสม.น้อย จำนวน 10 คน

งบประมาณ

0 ค่าอุปกรณ์กีฬาส่งเสริมการออกกำลังกาย

  • ลูกฟุตบอล 2 ลูกราคาลูกละ 720 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท

  • ลูกวอลเลย์บอล 2 ลูกราคาลูกละ 460 บาทเป็นเงิน 920 บาท

  • ลูกฟุตซอล 1 ลูกราคาลูกละ 570 บาท

  • ลูกบาศเก็ตบอล 1 ลูกราคาลูกละ 410 บาท

  • ค่าเอกสารแบบบันทึกการออกกำลังกายของนักเรียนคนละ 1 เล่มๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

รวมเป็นเงิน 6,940 บาท

3.3 ส่งเสริมสภาวะที่ดีทางด้านอารมณ์ให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

  • จัดทำกิจกรรมเสริมสร้างสมาธิที่ดีให้กับนักเรียน เช่น นั่งสมาธิฟังนิทานฟังเสียงดนตรีบรรเลงในช่วงเวลาพักกลางวัน หรือก่อนกลับบ้านเป็นเวลา 15 นาที ทุกวัน

  • จัดเวลาทำกิจกรรมทางกายที่เสริมสร้างสมาธิอื่นๆ เช่นงานประดิษฐ์ร้อยลูกปัด เต้นรำ ลีลาสกิจกรรมเข้าจังหวะเพลงในคาบวิชาชุมนุม

    เป้าาหมาย จำนวน 144 คน

    • นักเรียนทั่วไปจำนวน 120คน

    • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 14 คน

    • แกนนำ อสม.น้อย จำนวน 10 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนทุกคนได้ออกกำลังกายและทำกิจกรรมทางกายคิดเป็นร้อยละ 90 2.นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19630.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทำการสำรวจค่า BMI ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกๆ 1 เดือน เป็นเวลา 4 เดือน

  • สรุปข้อมูลจากสมุดบันทึกภาวะโภชนาการ โดยอสม.น้อย

  • ถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

o นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 22 คน

o นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 14 คน

งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

เป้าหมาย

  • คณะทำงานโครงการจำนวน5คน

งบประมาณ

• ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,220.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
2. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
3. นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


>