กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ชุมชนปลอดภัยไร้สารเสพติดหมู่ที่ ๔ บ้านโหล๊ะบ้า ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชุมชนปลอดภัยไร้สารเสพติดหมู่ที่ ๔ บ้านโหล๊ะบ้า ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

อาสาสมัครชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านโหล๊ะบ้า

นายสุวิทย์ทองกัญญา
นางสาวฟารีดาอาหรับ
นางปราณี ชูทอง
นางสาวนูรี หีมเขียว

หมู่ที่ ๔ บ้านโหล๊ะบ้า ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันยังเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ สังคมและสุขภาพของประชาชนซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากสถานการณ์ด้านผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด พบว่ายังคงมีผู้เสพ ผู้ติดซึ่งเป็นตลาดรองรับยาเสพติดจำนวนมากโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเยาวชน ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น และมีแนวโน้มอายุลดลงรวมทั้งผู้เสพติดรายใหม่ที่เข้าสู่วงจรปัญหาในขณะที่ยังมีผู้เสพติดส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มผู้ติดรุนแรงเริ่มมีอาการทางจิตประสาทและก่อผลกระทบสร้างความเดือดร้อนต่อสังคมอย่างมากและจากรายงานวิจัยหลายฉบับพบว่าเด็กตั้งแต่อายุ 9 ปีซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในช่วงวัยเรียนเริ่มทดลองใช้สารเสพติดประเภทบุหรี่ ซึ่งปัญหาการติดบุหรี่ นับวันจะเพิ่มความรุนแรงและเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศอย่างมาก และยัง แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนทั่วไป เนื่องจากบุหรี่เป็นยาเสพติดที่หาซื้อได้ง่ายเสพติดง่ายแต่เลิกยาก และนำไปสู่การใช้ยาในกลุ่ม แอมเฟตามีน4 หรือ 5 คูณ 100 และสารอื่น ๆ ในเวลาต่อมา ซึ่งเด็กเหล่านี้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ประชาชนบางกลุ่มและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีส่วนในการกระทำผิดเกี่ยวกับสารเสพติดมากขึ้นเนื่องจากเป็นช่องทางในการหาประโยชน์จนเป็นปัญหาต่อสังคมดังที่พบเห็นได้ในปัจจุบันซึ่งปัจจุบันมีวิธีการ ลด ละเลิก การสูบบุหรี่ด้วยการใช้สมุนไพรดอกหญ้าขาว และตามแนวทางการป้องกัน ส่งต่อ การรักษา ฟื้นฟู ติดตามเพื่อบำบัดผู้ใช้สารเสพติด
ดังนั้นเพื่อเป็นการค้นหาผู้ติดสารเสพติด และป้องกันไม่ให้เยาวชนและกลุ่มวัยทำงานเข้ามายุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนจึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเสพติดในเยาวชนและกลุ่มทำงานขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของยาเสพติดสู่เด็กและเยาวชนในชุมชน

ร้อยละ 85 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเสพติด

40.00 34.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และผู้ปกครองในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลตนเองและครอบครัว รู้เท่าทันภัยจากยาเสพติด

-ร้อยละ 85 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องยาเสพติด

40.00 34.00
3 3. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการหลีกเลี่ยงไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด มิให้เป็นผู้เสพรายใหม่

ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมมีความพอใจ

40.00 34.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชุมชนปลอยภัยห่างไกลยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
ชุมชนปลอยภัยห่างไกลยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ประชุมวางแผนการการจัดทำโครงการและรูปแบบการดำเนินโครงการ 2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ 3. ทำหนังสือเชิญวิทยากร
4. ประชุมเตรียมความพร้อมของคณะทำงาน
5. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบเกี่ยวกับการอบรมตามวัน เวลา ที่กำหนด
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการลงเบียนรับกระปุกสำหรับใส่ปัสสาวะ
2. ตรวจปัสสาวะ เพื่อหารสารเสพติด ครั้งที่ 1
3. อบรมให้ความรู้ เรื่องการการดูแลตนเองและครอบครัว ให้รู้เท่าทันภัยของยาเสพติด
4. เปิดประสบการณ์ การลด ละเลิกสารเสพติด
5. แจกสมุนไพรหญ้าดอกขาว ให้กับผู้ที่ สนใจ จะลด ละเลิก บุหรี่ 6. ประเมินผลการดำเนินโครงการโดยการทำแบบสอบถาม


ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินงาน 1. ติดตาม ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาสารเสพติด ในกลุ่มเป้าหมาย เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 เดือน 2. สรุปและจัดทำรายงานผลการดำงานโครงการฉบับสมบูรณ์
งบประมาณ
** วันจัดโครงการ 1. ค่าอาหารสำหรับผู้เข้าสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นเงิน 2,800 บาท -จำนวน 40 คน / 70 บาท มื้อ จำนวน 1 มื้อ
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นเงิน 2000 บาท - จํานวน 40 คน / 25 บาท / มื้อ จำนวน 2 มื้อ **วันที่ติดตามประเมิน 3 ครั้ง 3 มื้อ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการติดตาม เป็นเงิน 3000 บาท - จํานวน 40 คน / 25 บาท / มื้อ จำนวน 3 มื้อ 3. ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาดความกว้าง ๑.๒๐ ม. ยาว ๒.๔ ม. จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน 600 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากรรายบุคคล จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท / คน เป็นเงิน 3,000 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,500 บาท 6. ค่าเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท รวม 14900

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็ก และเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ ตนเอง และครอบครัว ตลอดจนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งในและนอกระบบการศึกษา และชุมชน
  3. เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพ ติดเข้ามาสู่ชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,900.00 บาท

หมายเหตุ :
: ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็ก และเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ ตนเอง และครอบครัว ตลอดจนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งในและนอกระบบการศึกษา และชุมชน
3. เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพ ติดเข้ามาสู่ชุมชน


>