กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บ้านสร้างสุข โรงเรียนบ้านท่าด่าน ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงเรียนบ้านท่าด่าน

1.นางสรรค์สุรางค์ สุไลมาน
2.นายอิบรอฮิม หะมะ
3.นางสาวมัยซาระห์ อาลี
4.นายอาบีดิง เจ๊ะโซะ
5.นางสาวนูรียะห์ เจะหะ

ตำบลตะโละกาโปร์อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

 

50.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

 

30.00
3 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

 

20.00
4 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

 

30.00
5 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

10.00

ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง จากการสำรวจพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดและผู้เสพยาเสพติดมากขึ้นจากเดิม ที่ผู้เสพส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงของวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่ปัจจุบันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้เสพที่อยู่ในนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จึงเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดได้มีการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้นและหนักขึ้นเป็นทวีคูณ มีจำนวนผู้เสี่ยงที่มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ มีเขตพื้นที่ติดต่อหลายตำบลมีเส้นทางจำนวนมากที่ทำให้กลุ่มผู้เสพยาเสพติดและกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดมักมีการลักลอบซื้อขายยาเสพติดกันในพื้นที่เป็นประจำ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ จึงจำเป็นต้องมีโครงการและมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ลดเบาบางจนหมดสิ้นไป
คณะครูโรงเรียนบ้านท่าด่าน จึงได้จัดทำโครงการบ้านสร้างสุข โรงเรียนบ้านท่าด่าน ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข

ร้อยละ 90 นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข

50.00 90.00
2 เพื่อให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดสารเสพติดและอบายมุข

ร้อยละ 80 โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดสารเสพติดและอบายมุข

30.00 60.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข

ร้อยละ 90 3. นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข

20.00 80.00
4 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

30.00 50.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

20.00 50.00
6 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

50.00 20.00
7 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

30.00 10.00
8 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 169
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายให้ความรู้พิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข และการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ในวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
บรรยายให้ความรู้พิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข และการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ในวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เชิญวิทยากรจากโรงเรียนบ้านบูดี มาบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการไม่ยุ่งกับสารเสพติดและการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ด้วยวิถีอิสลาม ของนักเรียน ชั้น ป.1- ป.6 (ช่วงเช้า) และในช่วงบ่าย มีการจัดกิจกรรมแบบ Workshop ระหว่างนักเรียนและผู้ปกครอง
งบประมาณ
-ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2.5 × 2.5 ราคา 750 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน นักเรียน 110 คน × 30 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท -ค่าอาหารกลางวันของผู้ปกครอง 80 คน × 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้ปกครอง 80 คน × 30 บาท = 2,400 บาท
รวม 11,450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภัยสารเสพติดและอบายมุขและการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ในวัยเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11450.00

กิจกรรมที่ 2 เดินรณรงค์วันงดสารเสพติดและอบายมุข (26 มิถุนายน )

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์วันงดสารเสพติดและอบายมุข (26 มิถุนายน )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิลรณรงค์งดสารเสพติดขนาด 1.5 x 1.5 จำนวน 3 แผ่น 3x350 เป็นเงิน 1,050 บาท
-ค่าตกแต่งวัสดุอุปกรณ์เดินรณรงค์งดสารเสพติด 300 x 6 ชั้นเรียนเป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง 80 คน × 30 บาท = 2,400 บาท
รวม5,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ประชาชน เด็ก และเยาวชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ ตระหนักในเรื่องยาเสพติด และการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและถอดบทเรียนการดำเนินงานกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและถอดบทเรียนการดำเนินงานกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการนำตัวแทนเด็กนักเรียนมาถอดบทเรียน และเสนอปัญหาอุปสสรคที่พบในการดำเนินงาน และให้ตัวแทนดังกล่าวฯ เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ และแนะนำความรู้ที่มีให้รุ่นน้องต่อๆ ไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 เด็กมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ไม่มี

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข
2.โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดสารเสพติดและอบายมุข
3.นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข
4.ส่งเสริมให้ผู้ปกครองไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข


>