กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านลำชิง

นางโรสิต้า เส็นเหม๊าะ
นางขยาย มณีรัตน์
นางเจือ ดำแก้ว
นางสาวกาญจนา หมวดพรมทอง
นางเพชรี ทองมณี

หมู่ที่1,2,5,8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองด้วยภูมิปัญญาไทย มีการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพตนเอง

 

22.00
2 จำนวนผู้สูงอายุมีทักษะบริหารท่าฤาษีดัดตน ไว้ดูแลตนเอง

 

22.00

ปัจจุบันการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุจึงได้นำการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี และที่สำคัญ คือการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลสุขภาพประกอบกับวัยผู้สูงอายุมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมตามสภาพร่างงกาย โรคที่พบได้บ่อยได้แก่โรคระบบกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมและการเจ็บป่วย จากสภาวะข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ อสม. รพ.สต.บ้านลำชิง จึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาไทย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองด้วยภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพตนเอง

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการใช้สมุนไพร

22.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะในการนวดตนเอง/บริหารท่าฤาษีดัดตนเพื่อลดอาการปวดเมื่อย

ผู้สูงอายุมีทักษะในการนวดตนเอง/บริหารท่าฤาษีดัดตนเพื่อลดอาการปวดเมื่อย

22.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพเดี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
1. สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพเดี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รวบรวมด้านสุขภาพเดี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ

2.ประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขวางแผนการจัดทำโครงการ และเสนอแผนงานแก่กองทุนตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 1 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. เชิญชวน กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2. เชิญชวน กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. จัดอบรมให้ความรู้สมุนไพรกับการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
3. จัดอบรมให้ความรู้สมุนไพรกับการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน *30 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 1คน * 6 ชม. * ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด1.2 * 2.4 ม. จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสาธิตการทำน้ำสมุนไพร การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรและการจัดทำลูกประคบสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการทำน้ำสมุนไพร การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรและการจัดทำลูกประคบสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมสาธิตน้ำสมุนไพรตามหลักธาตุเจ้าเรือน

  • กระติกน้ำร้อน 1 ลูก เป็นเงิน1,800 บาท

  • โหลแก้วใส่น้ำ 2 ชุด ๆ ละ 1,600 บาท เป็นเงิน3,200 บาท

  • แก้วกระดาษ100 ใบ ๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 300 บาท

2 ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร

  • เครื่องแช่เท้าไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 3,000 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท

  • ชุดยาสมุนไพรแช่เท้า จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท

3 ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร

  • ไพลแห้ง จำนวน 10 กก. ๆ ละ 160 บาทเป็นเงิน 1,600 บาท

  • ขมิ้นชันแห้ง จำนวน 5 กก. ๆ ละ 170 บาท เป็นเงิน850 บาท

  • ตะไคร้แห้ง จำนวน 5 กก. ๆ ละ 170 บาท เป็นเงิน850 บาท

  • ใบมะขามแห้ง จำนวน 2 กก. ๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน320 บาท

  • ผิวมะกรูดแห้ง จำนวน 2 กก. ๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน320 บาท

  • พิมเสน จำนวน ½ กก. ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน600 บาท

  • เมนทอล จำนวน ½ กก. ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • การบูร จำนวน ½ กก. ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน400 บาท

  • ผ้าด้ายดิบ 15 หลา ๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน525 บาท

  • เชือก 10 ม้วน ๆ ละ 20 บาทเป็นเงิน200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19465.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,565.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพและมีการเลือกใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
2. ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและรู้จักการทำท่าบริหารอย่างถูกวิธี
3. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทยมาใช้ในชุมชน


>