กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะมูลฝอย ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

ชมรมมุสลิมะหฺ์ตำบลปูยุด

1.นางสาวแวบีเดาะ เจะอุบง
2.นางสาวแวฮาลีเมาะห์ กอแล
3.นางสาวซากีนะห์ กาเซ็งอีแต
4.นางสาวแวรอมละห์ โตะกะ
5.นางรอปีเยาะ โตะอาดัม

พื้นที่ตำบลปูยุด อ.เมือง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคจาก สัตว์แมลง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนเกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
ซึ่งปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และ สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆ ชมรมมุสลิมะห์ ตำบลปุยุด จึงได้จัดโครงการ ส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอย ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนและชุมชนส่งเสริมการดำเนินการตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในครัวเรือนและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันโรคของประชาชนในตำบลปูยุดจากขยะมูลฝอย

มีระบบการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนเป็นโรคภัยจากขยะมูลฝอยลดลง สามารถดูแล ป้องกันตนเองและคนในครอบครัวได้

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ

ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์/ถังขยะเปียกในครัวเรือน

0.00
3 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง และมีการแยกขยะในครัวเรือน

ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์โดยใช้ หลักการ ๓Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และ นำกลับมาใช้ใหม่

ครัวเรือนต้นแบบ ร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนสะอาดถูกหลักสุขาภิบาล

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดประชุมอบรมและตรวจสุขภาพเบื้องต้น ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs เพื่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดประชุมอบรมและตรวจสุขภาพเบื้องต้น ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs เพื่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. x 100 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ. x 100 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าวิทยากรบรรยาย 1 คน x 300 x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 แผ่น 3 x 1 ม. X 300 เป็นเงิน 900 บาท
รวมเป็นเงิน 15,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอยที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอยที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. x 100 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ. x 100 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าวิทยากรบรรยาย 1 คน x 300 x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
รวมเป็นเงิน14,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้ความรู้วิธีการคัดแยกประเภทขยะแต่ละชนิดให้ถูกต้อง สาธิตการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อการจำหน่าย และการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้วิธีการคัดแยกประเภทขยะแต่ละชนิดให้ถูกต้อง สาธิตการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อการจำหน่าย และการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. x 100 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ. x 100 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าวิทยากรบรรยาย ๑ คน x 300 x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าวัสดุสาธิตการแยกขยะ 3 ใบ x 18 ลิตร x 279 บาท เป็นเงิน 837 บาท
รวมเป็นเงิน15,637บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15637.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,137.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
2.ประชาชนในชุมชนมีอัตราการป่วยลดลง
3.มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชน เป็นบ้านเรือนที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาลและปลอดขยะ
4.ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งและนำขยะมาใช้ประโยชน์
5.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนากลับมาใช้ใหม่ วิธีการกาจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี และสามารถนาความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง
6.แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกลดลง
7.ประชาชนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ และมีจิตสานึกและตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
8.ช่วยลดต้นทุนการใช้จ่ายในการกำจัดขยะของหน่วยงานท้องถิ่นได้


>