กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีตาดีกาบะฮ์รุลวาซีอะฮ์ หมู่ 1 บ้านปาตา ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีตาดีกาบะฮ์รุลวาซีอะฮ์ หมู่ 1 บ้านปาตา ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)บะฮ์รุลวาซีอะฮ์ บ้านปาตา

นายอับดุลการิง บาราเฮง ประธานศูนย์ฯ
นายสาบือรี อาแวบือสา รองประธาน
นางสาวอาตียะห์ บาราเฮง ครูผู้สอน
นางสาวอาตีกะห์ เจะอามะ ครูผู้สอน
นางสาวสุไรดา อูมา ครูผู้สอน

อาคารอเนกประสงค์มัสยิดอัลบะฮ์รุลวาซิอะฮ์ หมู่ที่ 1 บ้านปาตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพดีด้านโภชนาการ การให้เด็ก ผู้ปกครอง และครูผู้สอนตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้เด็ก ผู้ปกครอง และครูผู้สอนเกิดการเรียนรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าด้านสุขภาพที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเอง มีพลานามัยสมบูรณ์ รักสะอาด ปราศจากโรค มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ดังนั้น ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)บะฮ์รุลวาซีอะฮ์ หมู่ 1 บ้านปาตา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาในเรื่องการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์และไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ,โรคไต, เบาหวาน และโรคอื่นๆ แล้วยังพบว่าการเจ็บป่วย ค่อนข้างมาก เช่น การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักน้อย ดังนั้นเพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม และเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ก็ต้องพิถีพิถันในการเลือกใช้เครื่องปรุงในการปรุงอาหาร โดยการเลือกใช้เครื่องปรุงที่มีโซเดียมต่ำ, น้ำตาลต่ำ หรืออาจใช้วัสดุธรรมชาติอย่างอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทดแทน ในการปรุงอาหารทุกชนิด เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ผู้ปกครอง และครูผู้สอนอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กนักเรียน

ผู้เข้าร่วมรับการอบรมได้รับโครงการส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีในโรงเรียนตาดีกา

40.00 60.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กเรื่องพฤติกรรมด้านบริโภคอาหารในเด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกา

เด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกา ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนถูกหลักด้านโภชนาการ

40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 147
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจภาวะโภชนาการของเด็ก โดยการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจภาวะโภชนาการของเด็ก โดยการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ
- ค่าเครื่องชั่่งน้ำหนักจำนวน 1 เครื่อง = 500 บาท
- ค่าอุปกรณ์วัดส่วนสูง จำนวน 1 อัน =1,200 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 1700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 60 ทราบถึงภาวะโภชนาการของเด็ก
ร้อยละ 70 สามารถนำข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนวิทยากร 1 ท่านๆละ 300 บาท x 3 ชั่วโมง = 900 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 147 คน × 30 บาท x 1 มื้อ = 4,410 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 147 x 50 x 1 มื้อ = 7,350 บาท
-ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 x 2 เมตร = 750 บาท
-ค่าวัสดุเครื่องเขียน 15 บาท x 147 คน = 2,205 บาท
เป็นเงิน 15,615 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมรับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15615.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการจัดอบรมกิจกรรมในโรงเรียนตาดีกา

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการจัดอบรมกิจกรรมในโรงเรียนตาดีกา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • มีการถอดบทเรียน โดยให้เด็กที่ได้รับอบรม จำนวน 60 คน มาถ่ายถอดองค์ความรู้ที่ได้รับ และการปฏิบัติตัวด้านการรับประทานอาหารหลังจากอบรมฯ ต่อไป
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 นักเรียนในโรงเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์และคุณค่าของอาหาร และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,315.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมรับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กนักเรียน
2.เด็กนักเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนถูกหลักด้านโภชนาการ
3.เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี และไม่มีเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น


>