กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยปลอดโรค ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสายหมอ

-

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสายหมอ หมู่ที่ 6 ต.บางเขา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะเด็กระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสติปัญญา และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านรวมถึงการมีสุขภาพดี ไม่เจ็บไม่ป่วย ก็จะทำให้เด็กนั้นมีความสุข และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปีเป็นเด็กก่อนวัยเรียน เข้าศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจํานวนมาก เมื่อเจ็บป่วยไม่สบายจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย เด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อย โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคไข้เลือดออก และโรคผิวหนัง เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก อาจต้องปิดโรงเรียน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงาน เพื่อดูแลเด็กที่บ้าน ทําให้ขาดรายได้ จึงจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการดําเนินงานด้านการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสายหมอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยปลอดโรค ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อในเด็กซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษา และป้องกันโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กพัฒนาเด็กเล็ก ให้กับครู ผู้ปกครองและผู้เข้ารับการอบรม

 

60.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

 

60.00 70.00
3 เพื่อส่งเสริมการจัดสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อสุขภาพอนามัยของเด็กและได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค

 

60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง ศพด.สายหมอ 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายให้ความรู้การดูแลสุขภาพอนามัย และการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
บรรยายให้ความรู้การดูแลสุขภาพอนามัย และการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายะเอิยด วิธีดำเนินการ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน4,200.-บาท 2. ค่าอาหาร จำนวน 60 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน4,200.-บาท 3. ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,000.-บาท 4. ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษา และป้องกันโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็กที่เอื้อต่อสุขภาพอนามัยของเด็กและได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษา และป้องกันโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก
2. สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
3. สามารถจัดสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็กที่เอื้อต่อสุขภาพอนามัยของเด็กและได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค


>