กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กอายุ 0-3 ปี โภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การจะทำให้เด็กเติบโตอย่าง มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ ปรับตัวอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการเกื้อหนุน ส่งเสริม จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบบริการ ซึ่งเด็กวัย 0 - 5 ปี อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมอง ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกเหนือจากการอยู่รอด ปลอดภัยโดยเฉพาะในระยะ 2 ปีแรกของชีวิตซึ่งเป็นระยะที่ร่างการและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดทั้งด้านร่างกายและสมอง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน รวมทั้งการกระตุ้นให้มีการพัฒนาได้เต็มศักยภาพ หากเด็กวัยนี้ได้รับการดูแลให้มีการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์อย่างถูกต้อง โดยมีครอบครัวเป็นหลักเหมาะสมกับวัยแล้ว เด็กก็จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ต่อไป ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกของสังคมที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง ความสุข ความรัก ความอบอุ่น จริยธรรม รวมทั้งสร้างเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของเด็ก และพ่อแม่ คือ บุคคลสำคัญที่มีบทบาทดังกล่าว จากสถานการณ์ปัจจุบันสภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไป บิดามารดาต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือไปรับจ้างกรีดยางต่างจังหวัด ทำให้การเลี้ยงดูเด็กเล็กต้องตกไปเป็นหน้าที่ของตายายที่สูงวัย ที่มีรูปแบบการดูแลเด็กแบบวิถีเดิมที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการเด็กและขาดการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้อง และเนื่องจากการที่ขาดการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องและการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วนตามความต้องการของเด็กในแต่ละช่วงอายุนั้น อาจทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กล่าช้าได้ ผลสำรวจสถานการณ์เด็กรายจังหวัด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและสนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น (ความสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยในจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นสูงถึงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 12 ในขณะที่จังหวัดยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา อัตรานี้อยู่ที่ร้อยละ 21 ร้อยละ 19 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ และอัตราของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งหรือภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันในจังหวัดชายแดนใต้ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเช่นกัน อัตรานี้สูงสุดในจังหวัดปัตตานีเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในชายแดนใต้ คือร้อยละ 13 ตามด้วยจังหวัดนราธิวาสที่ร้อยละ 11 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 5 เรื่องโภชนาการ เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความตระหนัก ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ดูแล ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อที่สามารถทำอาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน และสามารถส่งเสริมให้บุตรมีพัฒนาการตามวัยได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด ในปี 2566 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปียังมีปัญหา ภาวะเตี้ย 40 ราย 15.38%, ค่อนข้างเตี้ย 32 ราย 12.31%, ภาวะผอม 2 ราย 0.6%, ค่อนข้างผอม 1 ราย 0.3% ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุดเล็งเห็นถึงปัญหาของโรคจึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0-3 ปี ได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองมีความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0-3 ปี ได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการกระตุ้นทางด้านโภชนาการและพัฒนาการ

ร้อยละ 80 ของเด็ก 0-3 ปี ได้รับการกระตุ้นทางด้านโภชนาการและพัฒนาการ

0.00
3 เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการติดตามและประเมินภาวะโภชนาการซ้ำทุก 1 เดือน

ร้อยละ 80 ของเด็ก 0-3 ปี ได้รับการติดตามและประเมินภาวะโภชนาการซ้ำทุก 1 เดือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 23/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-แบบทดสอบ จำนวน 100 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

-ค่าไวนิล จำนวน 2 ผืน ขนาด 1.5 เมตร*2.5 เมตร ผืนละ 1,125บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 7,000 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท

-ค่าวัสดุสำนักงาน (ปากกา, ซองใส่เอกสารคู่มือ) จำนวน 100 ชุดๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

รวมเป็นเงิน 19,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อติดตามและประเมินภาวะโภชนาการซ้ำหลังจาก 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อติดตามและประเมินภาวะโภชนาการซ้ำหลังจาก 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เสริมสร้างพัฒนาการ(ชุดลูกบอล,ตุ๊กตาแขวน,ตัวต่อไม้) จำนวน 50 ชุดๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

-ค่าอุปกรณ์สาธิตเสริมพัฒนาการเด็ก(เซตชุดตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย) ราคา 4,900 บาท

รวมเป็นเงิน 8,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0-3 ปี
ได้อย่างถูกเด็ก 0-3 ปี ได้รับการกระตุ้นทางด้านโภชนาการและพัฒนาการ
เด็ก 0-3 ปี ได้รับการติดตามและประเมินภาวะโภชนาการซ้ำทุก 1 เดือน


>