กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่สายสัมพันธ์ครอบครัว ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

งานสวัสดิการและสังคม เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

งานสวัสดิการและสังคม

ณ สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปครอบครัวที่เคยอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก และญาติ แต่แม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน มีความจำเป็นต้องละทิ้งเด็กอ่อนไว้กับ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำให้เด็กไม่ได้รับนมแม่ อย่างเดียวจนอายุ 6 เดือน ลดน้อยลง ซึ่งน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดเพราะมีสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของทารกมีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งไม่มีในสารอาหารชนิดอื่นและที่สำคัญมีการสร้างความรัก ระหว่าง แม่ลูก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการปรับตัว ในพื้นเทศบาลตำบลทุ่งหว้า พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (EBF rate) เท่ากับร้อยละ 14.0 และเพิ่มขึ้นในปี 2565เท่ากับ ร้อยละ 28.6 แม้ว่าแนวโน้มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถึงเป้าหมายที่ไทยและทั่วโลกกำหนดไว้ คือ เด็กไทยอย่างน้อยร้อยละ 50 กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านด้านร่างกายและสติปัญญา เพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทางเทศบาลตำบลทุ่งหว้า จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนตามกระบวนการสุขภาพ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลทุ่งหว้า อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน แกนนำหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ดังนั้น เพื่อให้มีเด็กไทยอย่างน้อยร้อยละ 50 กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน งานสวัสดิการและสังคมเทศบาลตำบลทุ่งหว้า จึงได้จัดทำ“โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สายสัมพันธ์ครอบครัวประจำปีงบประมาณ2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมในการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ให้กับครอบครัว

ร้อยละ 80 เด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน

0.00
2 2.เพื่อพัฒนาความรู้และระบบบริการอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 หญิงหลังคลอดได้รับบริการอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีให้นมลูกที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีให้นมลูกที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ขั้นตอนการวางเเผน)
    1. ขั้นเตรียมการ -ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะกรรมการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ -จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า 2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สายสัมพันธ์ครอบครัว ประจำปีงบประมาณ  2567
2.2 ดำเนินการตามแผน 3. กิจกรรมที่จะดำเนินงานตามโครงการ   3.1  จัดอบรมให้ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีให้นมแม่ที่ถูกต้อง 2  ติดตามประเมินผล โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ
3  สรุปและรายงานผลภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จโครงการฯ รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ช.ม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  1,800 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ช.ม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  3,600 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท  จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท 4.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1.50 x 2.5 ม. เป็นเงิน 450บาท 5.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์  ที่ใช้ในโครงการ
   กระเป๋าผ้า จำนวน 50 ใบ ๆละ 80 บาท  เป็นเงิน   4,000 บาท    กระดาษ A4 จำนวน 1 ลังๆละ   เป็นเงิน 800 บาท    ปากกา จำนวน  50 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 6.เอกสารในการอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
7.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,150.-บาท (-เงินสองหมื่นหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน-)
หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับเสริมสร้างพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับครอบครัว
  2. สามารถพัฒนาความรู้ และระบบบริการอนามัยแม่และเด็กในกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
  3. สร้างและขยายเครือข่ายอาสาสมัครในชุมชนในการดูแลช่วยเหลือส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และดูแลสุขภาพแม่และเด็กอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับเสริมสร้างพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับครอบครัว
2. สามารถพัฒนาความรู้ และระบบบริการอนามัยแม่และเด็กในกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
3. สร้างและขยายเครือข่ายอาสาสมัครในชุมชนในการดูแลช่วยเหลือส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และดูแลสุขภาพแม่และเด็กอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


>