กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การจัดการขยะมูลฝอยในตาดีกา ตากอง ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง

1. นายมะแอ ยูโซะ
2. นายอุสมาน หะยีสมาแอ
3. นายรอแม ยูโซะ
4. นายอิสมาแอ อุเซ็ง
5. นายมะแอ เปาะซา

ตาดีกานูรุลยันนะห์ (ตากอง) หมู่ที่ 6 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของโรงเรียน ชุมชน สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มของประชากรในพื้นที่ที่มีจำนวนมากขึ้น ธุรกรรมการค้าขายที่เน้นความสะดวกสบาย การใช้ถุงพลายติกในรูปแบบบรรจุเป็นแก้ว ถุงหิ้ว ขนมบรรจุห่อที่พร้อมกิน จำนวนร้านค้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี บวกกับพฤติกรรมที่ขาดวินัยในการดูแลความสะอาด การขาดจิตสำนึก ความตระหนัก ดังกล่าวข้างต้นเป็นเหตุ ให้เกิดขยะ ความสกปรก ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ตาดีกานูรุลยันนะห์ (ตากอง) มีปริมาณขยะที่เป็นพลาสติกสูงเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น คือการไม่คัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง ขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง รวมทั้งขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ หากปล่อยให้ขยะมีปริมาณมาก ไม่สร้างวินัยให้กับเด็กตั้งแต่เล็กๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อจิตใต้สำนึก ขาดความตระหนักแล้ว อนาคตชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน ก็จะสกปรก เต็มไปด้วยขยะ
ขยะเป็นแหล่งก่อให้เกิดโรคหรือพาหะของโรคต่างๆ เช่น ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคในระบบผิวหนัง เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรคต่างๆ ดังนั้นจำเป็นและเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่ที่จะต้องร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องของการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ เพื่อให้ชุมชน หมู่บ้านสะอาดหน้ามอง ปลอดขยะ การจะแก้ไขปัญหาให้ได้ผลระยะยาวนั้น ต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อน ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการทิ้งขยะให้กับนักเรียน ให้นักเรียนได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการคัดแยกขยะเมื่อนักเรียนรู้จักแยกขยะและทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางแล้วก็จะทำให้โรงเรียนสะอาด บ้านนักเรียนก็สะอาด ปริมาณขยะก็จะลดลง ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ต่อชุมชน เมื่อเริ่มต้นจากในตาดีกาได้ผลดีแล้วก็สามารถขยายผลไปยังชุมชน
ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง เป็นองค์กรหนึ่งในพื้นที่ที่มีปฏิสัมพันธ์กับเยาวชนวัยเรียนในพื้นที่มายาวนาน อยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน จึงจัดทำโครงการการจัดการขยะมูลฝอยในตาดีกา ตากอง ปี 67 ขึ้น โดยใช้หลักการ ๓ Rs (Reduce (ลดการใช้) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) เพื่อของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในตาดีกา

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในตาดีกา

80.00 64.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประเภทขยะ การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง รู้จักประโยชน์ของขยะ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประเภทขยะ การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

80.00 64.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ
งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน x 35 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุม และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกจกรรมต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในตาดีกา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในตาดีกา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องขยะ ตามหัวข้อ ดังนี้
1. เรื่องลดการผลิตขยะและคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
2. เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยโดยใช้หลัก 3RS และการคัดแยกขยะสร้างมูลค่า
3. กิจกรรมคัดแยกขยะ
งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 70 คน x 60 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x มื้อละ 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,900 บาท
- ค่าสัมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 720 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (สมุด ดินสอ ปากกาเคมี กระดาษฟรุต อื่นๆ) เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13720.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการคัดแยกขยะในแต่ละประเภท

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการคัดแยกขยะในแต่ละประเภท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การคัดแยกขยะมูลฝอยโดยใช้หลัก 3RS และการคัดแยกขยะสร้างมูลค่า
งบประมาณ - ค่าถังขยะสำหรับแยก (ขยะรีไซเคิล,ขยะทั่วไป) พร้อมโครงเหล็ก จำนวน 1 ชุด (2 ถัง) เป็นเงิน 3,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในตาดีกา
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะ การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง รู้จักนำขยะไปใช้ประโยชน์
3. แหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรค ในพื้นที่ลดลง
4. จำนวนขยะในตาดีกาลดลง บริเวณอาคารตาดีกามีความสะอาดมากขึ้น


>