กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2,500 วัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

0.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

0.00
3 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

0.00
4 ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก

 

0.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นกำเนิดของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและ การเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาททำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการ เจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพ ผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน แนวทางการดำเนินงาน ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน 1 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก ของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการ ที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพ งานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้ง กลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้ การบูรณาการความร่วมมือ กลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ในการร่วมขับเคลื่อน การดำเนินงานการ
จากข้อมูล โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลแหลมสน ปี 2566 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 78.95 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพร้อยละ 66.67 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 88.24 ภาวะภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 37.5 เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ร้อยละ 75.76 (ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน จึงได้จัดโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2500 วัน เพื่อส่งเสริมให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย พัฒนาการสมวัย สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพมารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

0.00 75.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

0.00 75.00
3 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

0.00 10.00
4 เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

0.00 60.00
5 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนและมีพัฒนาการตามวัย

เด็ก 0-5 ปีสูงดีสมส่วน

0.00 68.00
6 เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

 

0.00 86.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กอายุ 0- 5 ปี 60
หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี 50
เด็กอายุ 0-5 ปี 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานอยู่กินกับสามี (MWRA)

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานอยู่กินกับสามี (MWRA)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมก่อนที่จะมีบุตร ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยน้ำแม่
  2. จัดทำทะเบียนข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี (MWRA) วิธีการคุมกำเนิด โดยอสม.ในเขตรับผิดชอบ พร้อมให้คำแนะนำในหญิงที่พร้อมจะมีบุตรให้มารับบริการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  3. สร้างกลุ่มไลน์ “อนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.แหลมสน” เพื่อติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ตามนัด
  4. มีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้าน เพื่อรณรงค์ให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของโฟลิค การรับประทานอาหาร
  2. เฝ้าระวังภาวะซีดโดยการเจาะเลือดตรวจหาปริมาณความเข้มข้นเลือด (Hct)
  3. การจ่ายยาเม็ดโฟลิค คนละ 30 เม็ด รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะซีดลดลงไม่เกินเกณพ์ที่กำหนด ร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปี อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปีสูงดีสมส่วนให้กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแหลมสน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปี อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปีสูงดีสมส่วนให้กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแหลมสน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปีสูงดีสมส่วนให้กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแหลมสน โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญการมีภาวะโภชนาการดีสูงดีสมส่วน การดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละวัย การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ครบมื้ออาหาร การตระหนักถึงโรคหรืออันตรายจากภาวะทุพโภชนการและภาวะอ้วน       - ติดตามประเมินภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต ด้วยการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงที่ได้คุณภาพโดยอสม.ในเขตรับผิดชอบ ตามไตรมาสทุก 3 เดือน
     - หากพบเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการติดตามภาวะโภชนการทุก 1 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
     - หากพบยังต่ำกว่าเกณฑ์ จะดำเนินการส่งต่อพบกุมารแพทย์ โรงพยาบาลละงู เพื่อรักษาต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ และมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15900.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก กิน กอด เล่น เล่า นอนเฝ้าดูฟันและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามแนวทาง คู่มือ DSPM ในเด็ก 0 - 5 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก กิน กอด เล่น เล่า นอนเฝ้าดูฟันและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามแนวทาง คู่มือ DSPM ในเด็ก 0 - 5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก กิน กอด เล่น เล่า นอนเฝ้าดูฟันและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามแนวทาง คู่มือ DSPM ในเด็ก 0 - 5 ปี        - หากพบเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า เจ้าหน้าที่จะดำเนินการติดตามพัฒนาการอีก 1 เดือน
       - หากพบพัฒนาการล่าช้า จะดำเนินการส่งต่อพบกุมารแพทย์ โรงพยาบาลละงู เพื่อรักษาต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0- 5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ เด็ก 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นติดตามโดยเจ้าหน้าที่ร้อยละ 100 เด็กอายุ 0- 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
2. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
3. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เรื่องภาวะโภชนการในระหว่างตั้งครรภ์และภาวะซีด พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนครอบครัวและเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
4. ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือ DSPM ตรวจพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง
5. เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน


>