กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านสนกลาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านสนกลาง

1.นายเจ๊ะแหละ หยังสู
2.นายราหวัน ทำสวน
3.นางสุมากร หยังสู
4.นางอารียา สูนสละ
5.นางบาหนิน ถิ่นกาแบง

บ้านสนกลาง หมู่ที่ 4 ตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการดำเนินโครงการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 พบว่าผลที่ได้จากการดำเนินโครงการทำให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกหมู่ที่ 4 บ้านสนกลาง ในปี 2566 ไม่พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก กิจกรรมเดินรณรงค์ใส่ทรายที่มีฟอสเป็นประจำ และต่อเนื่องทุกเดือน ส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่ราชการ เช่นโรงเรียน มัสยิด ลดลงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ค่าดัชนีของลูกน้ำยุงลาย(HI) ในหมู่ที่ 4 บ้านสนกลาง มีแนวโน้มค่าลดลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยเดือนที่พบค่าลูกน้ำยุงลายสูงสุดคือเดือน กรกฎาคม พบร้อยละ 9.42 เดือนที่พบลูกน้ำยุงลายน้อยที่สุดคือเดือน ตุลาคม พบร้อยละ 7.22 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10 แต่ยังพบปัญหาอุปสรรคในการทำงาน เช่น กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ในชุมชนยังมีค่อนข้างน้อย โดยยังขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ กระบวนการเดินรณรงค์เพื่อสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือน ประชาชนยังมองว่าเป็นบทบาทหลักของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเท่านั้น และในหมู่บ้านยังขาดกติกาชุมชน หรือมาตรการทางสังคมที่คนในชุมชนหมู่บ้านคิดร่วมกัน ยอมรับและถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน


ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านสนกลาง จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงอยากต่อยอดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่แท้จริงในชุมชน หมู่บ้าน มีคณะกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคในหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังโรคภัยในหมู่บ้านต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน มัสยิด ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการสร้างมาตรการทางสังคมหรือกติกาชุมชนในเรื่องการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

มีมาตรการทางสังคม หรือกติกาชุมชนอย่างน้อย ๑ เรื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนทั่วไป 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงให้ความรู้พร้อมทั้งคืนข้อมูลสถานการณ์ ให้ชุมชนรับทราบ เพื่อกำหนดกิจกรรมในการแก้ปัญหาร่วมกัน และแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคระดับหมู่บ้าน พร้อมทั้งส่งเสริมหามาตรการทางสังคมในการป้องกันควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงให้ความรู้พร้อมทั้งคืนข้อมูลสถานการณ์ ให้ชุมชนรับทราบ เพื่อกำหนดกิจกรรมในการแก้ปัญหาร่วมกัน และแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคระดับหมู่บ้าน พร้อมทั้งส่งเสริมหามาตรการทางสังคมในการป้องกันควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 50   คน x 25 บาท x 1 มื้อ   เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคในระดับหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอส และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกหมู่บ้าน ตามแผนการรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอส และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกหมู่บ้าน ตามแผนการรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 30     คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 4 ครั้ง
                              เป็นเงิน 3,000 บาท
ค่าจัดซื้อทรายทีมีฟอส จำนวน 1 ถัง ๆ ละ 4,800 บาท                เป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน มัสยิด ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร
    พร้อมตี โครงไม้  จำนวน 2 ป้าย x  700 บาท
                                 เป็นเงิน   1,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของ บ้านสนกลาง หมู่ที่ 4 ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้
เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในหมู่บ้าน จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน อีกทั้งเกิดมาตรการทางสังคมหรือกติกาชุมชนเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนต่อไป


>