กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนสดใสห่างไกลวัณโรค ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

โรงพยาบาลสุไหงปาดี

นางพิศชรัตน์ จันทเวช

ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงอุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรควัณโรคและการดื้อยาดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติในวันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรคโดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดย คณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค มากกว่าร้อย ละ 88 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา หน้าทุกวัน ที่เรียกว่า องค์การอนามัยโลกได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไปจำนวนผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลสุไหงปาดีตั้งแต่ปี 2564 ถึง ปี 2566 ทั้งหมด 106 ราย เสียชีวิต 6 ราย ขาดยา 6 ราย อัตราการรักษาหาย 94 ราย
โรงพยาบาลสุไหงปาดีจึงจัดทำโครงการโครงการชุมชนสดใสห่างไกลวัณโรค ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2567 เพื่อดำเนินการควบคุมวัณโรคแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงให้ได้รับการคัดกรอง วินิจฉัยและการรักษาวัณโรคตามแนวทางวัณโรคแห่งชาติ ร่วมกับการควบคุมกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพ รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรค

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ 80

20.00 5.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และลดการล่าช้าในการตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยง

กรณีพบกลุ่มเสี่ยงสามารถเข้าระบบการคัดกรอง ร้อยละ 50

20.00 5.00
3 เพื่อดูแลรักษาวัณโรคให้หาย รับประทานยาครบ ลดการขาดยาในผู้ป่วยวัณโรค

อัตรารักษาสำเร็จผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 88

20.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เชิงรุก,ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องวัณโรคในชุมชนเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคทั้ง 8 หมู่บ้าน ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี

ชื่อกิจกรรม
เชิงรุก,ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องวัณโรคในชุมชนเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคทั้ง 8 หมู่บ้าน ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คนๆละ 30 บาท 1 มื้อ 1 วันเป็นเงิน 4,800 บาท
  2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 200 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คนๆละ 30 บาท 1 มื้อ 1 วันเป็นเงิน 4,800 บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 200 บาท รวม.............. 5,000........................บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในพื้นที่ 8 หมู่บ้าน ตำบลปะลุรู มีความรู้เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรค
  2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง วินิจฉัยรักษาอย่างรวดเร็ว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ 8 หมู่บ้าน ตำบลปะลุรู มีความรู้เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรค
2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง วินิจฉัยรักษาอย่างรวดเร็ว


>