กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดี พัฒนาการสมวัยประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

โรงพยาบาลสุไหงปาดี (กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม)

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม

ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา จึงควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้าน เป็นวัยที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นกำลังของชาติ หากเด็กได้รับการส่งเ

 

20.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา จึงควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้าน เป็นวัยที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นกำลังของชาติ หากเด็กได้รับการส่งเสริมทั้งด้านร่างกายและสติปัญญาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และจากการประเมินปัญหาในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย ของอำเภอสุไหงปาดีพบว่า ปี 2566 เด็กอายุ 0- 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 84.22 (เป้าหมาย > ร้อยละ 85 ) สูงดีสมส่วน ร้อยละ 62.67 (เป้าหมาย > ร้อยละ 64 ) เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 77.99 (เป้าหมาย > ร้อยละ 80) เด็กอายุ 6 – 12 เดือน มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 24.92 (เป้าหมาย < ร้อยละ 20) และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562-2564 มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 53.33, 62.28 และ 52.89 ตามลำดับ (เป้าหมาย ≥ ร้อยละ 85)สูงดีสมส่วน ร้อยละ 60.63, 63.02 และ 69.03 ตามลำดับ (เป้าหมาย ≥ ร้อยละ 64) เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 58.14, 66.15 และ 74.83 ตามลำดับ (เป้าหมาย ≥ ร้อยละ 80) เด็กอายุ 6 – 12 เดือน มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละN/A, 55.40 และ 31.29 ตามลำดับ (เป้าหมาย ≥ ร้อยละ 20) พบว่า การดำเนินงานยังไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดและความครอบคลุมการคัดกรองพัฒนาการ การเจริญเติบโต (ภาวะโภชนาการ) และภาวะโลหิตจางขาดการไม่ต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้ งานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มรพ.สุไหงปาดี ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ซึ่งเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการที่ไม่สมวัยทางด้านร่างกาย อาจส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมาได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กให้สมวัยในทุกด้านของชีวิต ทั้งในสถานพยาบาลครอบครัว ชุมชน รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-2 ปี ในเขตตำบลปะลุรู คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับตำบลปะลุรู จึงได้จัดทำโครงการโภชนาการดี พัฒนาการสมวัยประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก และแกนนำชุมชนมีความรู้ ส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-2 ปี ให้มีการเจริญเติบโตตามวัยพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และวัคซีนภูมิคุ้มกันโรค

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

20.00 5.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-2 ปี มีความรู้เรื่องการส่งเสริมโภชนาการเด็กและการป้องกันภาวะโลหิตจาง สามารถดูแลเด็ก ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์  ร้อยละ 80

20.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมผู้ปกครอง และแกนนำชุมชน ตำบลปะลุรู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมผู้ปกครอง และแกนนำชุมชน ตำบลปะลุรู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 600 บ. x 5 ชม. =3,000 บ. ค่าอาหารกลางวัน 60บ x 50 คน =3,000  บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ. x 50 คน x 2 มื้อ = 3,000 บ. ค่าวัสดุเอกสาร 30 บ. x 50 คน =1,500 บ. ค่าถุงผ้า 65 บ. x 50 คน =3,250 บ. ค่าวัสดุประกอบอาหารที่เหมาะสมตามวัย 3,000 บ. ค่าตกแต่งสถานที่ 1.2 ม. x 2.4 ม. = 720 บ. ค่าโมเดลอาหารสำหรับเด็ก 1 ชุด =5,000 บ. ค่าชุดตรวจพัฒนาการ(DSPM)1ชุด= 5,000 บ. ค่าไวนิลให้ความรู้พร้อมขาตั้งอลูมิเนียม    -ธงโภชนาการ/พัฒนาการ/วัคซีน = 5,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32470.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,470.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 2 ปี และแกนนำ ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะสามารถเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 72 เดือนและคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน ได้อย่างถูกต้องตามวัย และวัคซีนตามวัย
-ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 2 ปี และแกนนำ ที่เข้าอบรมมีความรู้เรื่องส่งเสริมโภชนาการเด็กและการป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-2 ปี สามารถติดตามและส่งเสริมสุขภาพเด็กในชุมชนได้
-เด็กที่มีภาวะเสี่ยงทั้งด้านภาวะโภชนาการและพัฒนาการได้รับการติดตามและแก้ไข ส่งผลให้เด็กปฐมวัยเติบโตขึ้นอย่างสมวัยและมีคุณภาพ


>