กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

โรงพยาบาลสุไหงปาดี (กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม)

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม

ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลักการและเหตุผล กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน ว่าการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนพร้อมเรียนรู้เต็มศักยภาพ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ อาหารและโภชนาการในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่

 

20.00

กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน ว่าการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนพร้อมเรียนรู้เต็มศักยภาพ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ อาหารและโภชนาการในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน ได้รับบริการตามมาตรฐานโภชนาการ กินเป็น เลือกเป็น เพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ ไข่ นม ลดหวาน มัน เค็ม พร้อมทั้งควบคุมการจำหน่ายขนมและเครื่องดื่มที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ ซึ่งในการที่ให้ผู้ปกครอง ครู เจ้าหน้าที่ทางการศึกษาและสาธารณสุข มีการเฝ้าระวัง ติดตาม และแก้ไขภาวะโภชนาการร่วมกัน โดยมีเป้าหมายภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนวัยรุ่น ในปี 2570 เด็กอายุ 6 – 14 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 65 เริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 10 เตี้ย ไม่เกินร้อยละ 5 และผอม ไม่เกินร้อยละ 5 ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี เด็กชาย 152 เซนติเมตร เด็กหญิง 153 เซนติเมตร
จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ในปีการศึกษา 2565 โดยอ้างอิงข้อมูลจาก HDC จังหวัดนราธิวาส เป้าหมายคือ สูงดีสมส่วนร้อยละ 57 ในส่วนของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ในปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที 2 ในเขตโรงพยาบาลสุไหงปาดี เดือน ธันวาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 พบว่าอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วน ร้อยละ 42.47 จากจำนวนนักเรียนที่ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงทั้งหมด 2,369 คน โรงพยาบาลสุไหงปาดี จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปีนี้ขึ้น เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโภชนาการตามวัยและตระหนักถึงการส่งเสริมโภชนาการเพิ่มขึ้น
20.00 5.00
2 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการได้รับการดูแลแก้ไข
  1. เด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการได้รับการดูแลแก้ไขเสริมสร้างด้านโภชนาการ
20.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการและสาธิตการประกอบอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการและสาธิตการประกอบอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บ. 5 ชั่วโมง x 1 คน เป็นเงิน 3,000 บ. 2.ค่าอาหารกลางวัน 60 บ. 1 มื้อx 80 คน เป็นเงิน 4,800 บ. 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ. 2 มื้อx 80 คน เป็นเงิน 4,800 บ. 4.ค่าตกแต่งสถานที่(ป้ายไวนิล ขนาด 1.20 เมตร x 2.40 เมตร) เป็นเงิน 720 บ. 5.ค่ากระเป๋าผ้า 60 บ.x 80 คน เป็นเงิน 4,800 บ. 6.ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน 15 บ.x80คน เป็นเงิน 1,200 บ. 7.ค่าโมเดลอาหารแลกเปลี่ยน,ธงโภชนาการ เป็นเงิน 7,000 บ. 8.ค่าชุดสาธิตอาหาร เป็นเงิน 2,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโภชนาการเพิ่มขึ้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผู้ปกครองได้ความรู้เกี่ยวกับการทำอาหารเหมาะสมตามวัย สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง


>