กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน

หมู่ที่ 1,2,5

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันพฤติกรรมของแต่บุคคลมีความเร่งรีบเพื่อทำงานแข่งกับเวลา ไม่ค่อยได้ใส่ใจกับภาวะสุขภาพมาก การกินอาหารที่เร่งรีบ การพักผ่อนน้อยรวมทั้งมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง อันได้แก่ ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีญาติสายตรง คือ พ่อ แม่ พี่ น้อง คนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเป็นโรคอ้วน ไม่ออกกำลังกาย มีประวัติเคยตรวจพบระดับน้ำตาล ในเลือดสูงผิดปกติ หรือเคยตรวจพบความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์เป็นเบาหวาน เป็นต้น
นอกจากนี้ทุก ๆ คนต้องมีความดันโลหิตเพราะจะเป็นตัวที่พาเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ดังนั้นทุกคนจะ ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตและการรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพราะหากความดันโลหิตสูงไปจะทำให้เกิดโรคตามมา อีกมากมายเมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือดหัวใจคนเราเต้น 60 - 80 ครั้งต่อนาที ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัวความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับอริยบทความเครียดการออกกำลังกายการนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทหากสูงกว่านี้แสดงว่าอาจเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจโรคไตโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตาย จากโรคหัวใจและโรคอัมพาตโรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกคนเนื่องจากไม่มีอาการเตือน
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสุขภาพประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปอย่างสม่ำเสมอและต้องมีการให้คำแนะนำที่ถูกต้องตลอดจนมีการดูแลผู้ป่วย ที่พบแล้วเพื่อให้มีการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
  1. ประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต ร้อยละ 95
0.00
2 2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้หลัก 3อ. 2ส.และติดตามทุก 3 เดือน และ 6 เดือน

ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามทุก 3 เดือน และ6 เดือน ร้อยละ 100

0.00
3 3. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง/กลุ่มสงสัยป่วย ได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที

ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง/กลุ่มสงสัยป่วย ได้รับการส่งต่อร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มประชาชนอายุ 15-34 ปี ดำเนินการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต โดยการใช้แบบสอบถาม Verbal Screening หากพบว่ามีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน จะดำเนินการเจาะเลือดปลายนิ้วต่อไป จำนวน 700 คน 2.กลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ดำเนินการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต โดยการใช้แบบสอบถาม Verbal Screening และเจาะเลือดปลายนิ้วทุกราย จำนวน 1,550 คน   รวมกลุ่มประชากร 15 ปีขึ้นไป จำนวน 2,250 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต ร้อยละ 95
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100
3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง/กลุ่มสงสัยป่วย ได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100


>